ระบบใหม่ Google ให้คุณสั่งค้นหาด้วย "คำพูด" ได้แล้ว
Call Us
02 612 9230-32, 080 064 8000
Member Login
Login
Forgot Password?  Register
 
Testimonial
" ออกมาเป็นที่พอใจมากคะได้สเป็คสีที่ระบุไว้เลยคะ แถมเจ้าหน้าที่ก็ใจดีคะ ทำให้ได้หมดทุกอย่างคะ บริการดีมาก กันเอง "
คุณเจ เจ้าของร้านเพชรทองเอราวัณเยาวราช
ระบบใหม่ Google ให้คุณสั่งค้นหาด้วย "คำพูด" ได้แล้ว
1,988 View | 15 Jun 2011
เมื่อวันที่ 14 มิถุนายน 2554 ที่ผ่านมา ทาง Google ได้ประกาศเปิดตัวคุณสมบัติใหม่อย่างเป็นทางการแล้ว สำหรับการค้นหาจากคอมพิวเตอร์ทีบ้าน หรือที่ทำงานได้โดยไม่ต้องสัมผัสคีย์บอร์ด เพื่อพิมพ์คีย์เวิร์ด แต่จะใช้การเปล่งเสียงคำพูดสำหรับ"คีย์เวิร์ด"ที่คุณต้องการผ่านไมโครโฟนของเครื่องเข้าไปแทน หลังจาก Google จะตีความจากเสียงที่ได้ยิน และแปลเป็น"คีย์เวิร์ด" (Speech-to-Text Technology) เพื่อนำไปใช้ในการค้นหาผลลัพธ์มาให้กับผู้ใช้ภายในอึดใจ โดยคุณสมบัติการทำงานใหม่นี้ ทาง Google พอร์ต มาจากซอฟต์แวร์ Android บนสมาร์ทโฟนนั่นเอง
 


 

"เราเปิดให้บริการค้นหาด้วยเสียงพูดบนโมบายก่อน แต่ผู้ใช้ควรจะได้ใช้ความสามารถนี้ไมว่าจะอยู่ที่ไหน หรือใช้อุปกรณ์ใดก็ตาม" Amit Singhal โพสต์ไว้ในบล็อกของ Google นอกจากนี้ ตัวแทนของ Google ยังบอกอีกด้วยว่า ออปชันในการค้นหาด้วยเสียงจะสามารถใช้งานได้บนบราวเซอร์ Chrome เท่านั้น โดยผู้ใช้สามารถใช้บริการนี้ได้ด้วยการคลิกปุ่มรูปไมโครโฟนที่อยู่ถัดจากช่องเสิร์ช ผู้ใช้บราวเซอร์ Chrome ทั่วโลกจะได้มีโอกาสใช้คุณสมบัตินี้ภายใน 2 วัน Singhal ยังเปิดเผยด้วยว่า คุณสมบัติการค้นด้วยเสียงเป็นฟีเจอร์ที่ได้รับความนิยม และประสบความสำเร็จอย่างสูงบนอุปกรณ์โมบาย
 


 

ในส่วนของการทำงาน Google กล่าวว่า ทางบริษัททุ่มเทอย่างมากในการพัฒนาคุณภาพของเทคโนโลยีรู้จำเสียง (ฟังเสียงจากไมค์ แล้วสามารถรู้จัก และจำคำนั้นได้ว่า หมายถึงคำว่าอะไร?) โดยปัจจุบัน Google ได้สอนให้ระบบรู้จำคำศัพท์ให้กับระบบ English Voice Search ด้วยจำนวนคำ (หรือวลีต่างๆ) มากกว่า 2.3 แสนล้านคำทีมีการสั่งค้นเข้ามาในระบบ เพื่อว่า มันจะได้รู้จำคำที่ค่อนข้างถูกต้องแม่นยำ โดยเฉพาะวลีที่ผู้คนชอบใช้พูดกัน เมื่อคุณภาพเพิ่มขึ้น แทรฟฟิกของการใช้บริการค้นด้วยเสียงเพิ่มขึ้นเป็น 6 เท่าในช่วงปีทีผ่านมา นอกจากนี้เสิร์ชด้วยเสียงแล้ว Google ยังเปิดเผยวิธีหาผลลัพธ์ใหม่ด้วยการลากไฟล์ภาพที่ต้องการค้นเข้าไปวางบนช่องเสิร์ชอีกด้วย
 
ที่มา arip.co.th
Back
   
ข่าวอื่นๆที่น่าสนใจ
  ทำไมต้องจดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
  5 แนวทางสร้างกำไรโดยการลดต้นทุนอย่างยั่งยืน (โดยไม่ต้องลดคุณภาพ)
  4 เหตุผลทำไม Start-Up ถึงต้องทำ PR
  SEO หรือ PCC กลยุทธ์ไหนที่ตอบโจทย์ธุรกิจของคุณ!
  3 พื้นฐานที่คุณต้องรู้ในการทำ DIGITAL MARKETING ANALYTICS