10 สาเหตุของการบริหารเว็บที่สุดแย่ที่สุด
Call Us
02 612 9230-32, 080 064 8000
Member Login
Login
Forgot Password?  Register
 
Testimonial
" ออกมาเป็นที่พอใจมากคะได้สเป็คสีที่ระบุไว้เลยคะ แถมเจ้าหน้าที่ก็ใจดีคะ ทำให้ได้หมดทุกอย่างคะ บริการดีมาก กันเอง "
คุณเจ เจ้าของร้านเพชรทองเอราวัณเยาวราช
10 สาเหตุของการบริหารเว็บที่สุดแย่ที่สุด
1,986 View | 13 May 2008

ณ.วันนี้มีเว็บไซต์ใหม่เกิดขึ้นทุกวัน แต่หากคุณเป็นนึงที่มีเว็บไซต์อยู่แล้ว
เว็บไซต์ของคุณถูกบริหารและดูแลอย่างดีอยู่หรือไม่ ลองมาดูกันนะคะว่า การบริหารเว็บไซต์ให้เติบโต เราควรหลีกเลี่ยงอะไร และจะทำอย่างไรที่ถือว่าเป็นการบริหารเว็บไซต์ให้เกิดประโยชน์สูงสุด

1. หลีกเลี่ยง การออกแบบเว็บ ที่ตามใจตัวเอง ตามใจเจ้าของเว็บมากเกินไป
คุณเคยเข้าไปเว็บไซต์ซักเว็บหนึ่งไหม ที่พอเข้าไปแล้วคุณไม่สามารถหาข้อมูลที่คุณต้องการได้?
  
บางครั้งข้อมูลที่คุณต้องการ ดันไปแอบอยู่ลึกในหลืบของเว็บไซต์ หาซะยากเย็นหรือบางครั้งคุณอาจจะเจอหน้าของเจ้าของบริษัทใหญ่ ๆ โดดเด่นตั้งแต่หน้าแรก (เว็บราชการของไทยบางแห่งเป็นแบบนี้นะ) สาเหตุที่เว็บไซต์บางเว็บเป็นแบบนี้เพราะเว็บเหล่านั้น ถูกออกแบบมาเอาใจเจ้าของเว็บ หรือ หัวหน้าของหน่วยงานมากเกินไป อยากจะให้หัวหน้าชอบ หรือตัวเองชอบ แต่ลืมนึกไปว่า "จริงๆแล้ว ผู้ที่ใช้เว็บไซต์เว็บนี้เป็นลูกค้าของคุณมากกว่า" ดังนั้นการสร้างและออกแบบเว็บไซต์ที่ดี ควรศึกษาความต้องการของผู้ที่ใช้เว็บไซต์นั้น ว่าเค้าเหล่านั้นมีความต้องการอะไรจริงๆ กันแน่ อย่าคาดเดา และเอาแต่ใจของตัวเอง

 
2. ต้อง..ทราบเป้าหมายผู้ใช้เว็บเป็นใคร
หลายครั้งที่เว็บไซต์บางเว็บถูกออกแบบเว็บมามีกลุ่มเป้าหมายเป็นคนไทย แต่เมนู หรือภาษาต่างที่ใช้ในเว็บกลับกลายเป็นภาษาอังกฤษซะส่วนใหญ่ ซึ่งถ้ากลุ่มเป้าหมายของคุณเป็นคนที่พอมีความรู้ด้านภาษาอังกฤษก็ถือว่ารอดตัวไป แต่หากลุ่มเป้าหมายของเว็บไซต์ของคุณกว้างมากซึ่งอาจจะมีบางกลุ่มที่เป็นคนทั่วไปที่ไม่เก่งภาษาอังกฤษก็อาจจะทำให้การใช้งานเว็บไซต์ของคุณมีปัญหาได้ ดังนั้นต้องดูให้แน่ชัดว่ากลุ่มเป้าหมายของผู้ที่มาใช้เว็บไซต์ของคุณเป็นใคร และพยายามออกแบบสร้างภาษาและการใช้งานให้เหมาะกับคนกลุ่มนั้นๆ อย่างเอาตัวเองมาวัดมากเกินไป

4. หลีกเลี่ยงการนำทุกอย่างมาไว้ที่หน้าแรกเว็บไซต์
เนื่องจากเป็นเพราะความที่กลัวลูกค้าจะไม่เห็นข้อมูลต่างๆภายในเว็บ เจ้าของเว็บไซต์บางเว็บจึงได้มีการนำข้อมูลทุกอย่างที่มีภายในเว็บ ออกมานำเสนอสายตาชาวโลกไว้ที่หน้าแรกซะทั้งหมดเบียดเซียดแน่นเอียด ทุกๆ อนูของหน้าเว็บ บ้างก็หน้าเว็บไซต์ก็ยาวยืดย้วย กดลงมาเท่าไรก็ไม่สุดหน้าซะที ซึ่งหากนำทุกอย่างมาไว้หน้าแรกทั้งหมดนี้อาจจะทำให้ลูกค้างงกับข้อมูลอันมหาศาลที่คุณพยายามยัดเยียดกับเค้าก็ได้ ดังนั้นควรแบ่งหมวดหมู่ของข้อมูลให้เป็นสัดเป็นส่วน แบ่งความเก่าใหม่ และความน่าสนใจของข้อมูล เอาไว้เป็นขั้นๆ และสร้างการเข้าถึงที่ง่าย เช่น การออกแบบเมนูเว็บไซต์ที่ดี ก็จะช่วยทำให้ผู้ใช้สามารถเข้าถึงข้อมูลของคุณได้ หรืออาจจะมีระบบค้นหาข้อมูล (Search Engine)ในเว็บไซต์ของคุณก็จะช่วยผู้ใช้ให้สามารถค้นหาข้อมูลได้ง่ายมากขึ้น

5. ข้อมูลมั่ว ไม่อัพเดท
มีเว็บไซต์หลายแห่งมักมีปัญหาข้อมูลบนเว็บไซต์ไม่ถูกต้อง มั่ว ไม่อัพเดท ข้อมูลเก่า หรือนานมาแล้ว ปีนึงสองปีไม่อัพเดทข้อมูลเลย ซึ่งยิ่งหากคุณเป็นเว็บไซต์ที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลที่มีการเปลี่ยนแปลงบ่อยๆ ควรให้ความสำคัญกับความถูกต้องและการอัพเดทเว็บอย่างสม่ำเสมอ เช่นเว็บที่ขายสินค้า (และยิ่งสินค้าที่มีการเปลี่ยนแปลงราคาบ่อย เช่น ทอง, อุปกรณ์คอมพิวเตอร์) ทางที่ดีคุณควรมีคนดูแลและเปลี่ยนแปลงข้อมูลเว็บไซต์อย่างสม่ำเสมอ และควรเข้าไปตรวจดูความถูกต้องของข้อมูลทุกครั้งก่อนที่จะมีการนำข้อมูลเสนอผ่านเว็บไซต์

6. เปลี่ยนรูปแบบเว็บไปเรื่อย
บางเว็บไซต์เจ้าของอาจจะเป็นศิลปิน ชอบเปลี่ยนรูปแบบของเว็บไซต์ไปเรื่อย บางแห่งเปลี่ยนทุกเดือน
ซึ่งหากเป็นการเปลี่ยนแปลงแค่หน้าตา รูปภาพหรือข้อมูลบางส่วนก็ยังพอโอเค
แต่บางแห่งถึงกับเปลี่ยนแปลงรูปแบบการใช้งาน การวางเลย์เอ้าท์ของหน้าเว็บไซต์ ปุ่มหรือเมนูต่างๆ
ซึ่งจะทำให้ผู้ใช้เกิดความสับสน งงงวยกับความบ้าพลังของเจ้าของเว็บไซต์ที่อยากเปลี่ยนแปลงรูปแบบเว็บไซต์อยู่บ่อยๆ ซึ่งจริงๆ แล้วการเปลี่ยนแปลงรูปแบบเว็บไซต์ทั้งหมด (Major Change) ไม่ควรทำบ่อยจนเกินไปการเปลี่ยนแปลงรูปแบบเว็บไวตื ควรเปลี่ยนประมาณ 1 หรือ 2 ปีเปลี่ยนที

7. ลูกค้าติดต่อมา ไม่เคยตอบ
หลายๆ ครั้งที่ลูกค้ามักติดต่อเข้ามาผ่านหน้าเว็บไซต์ เว็บบอร์ด บางคนติดต่อผ่าน E-mail เข้ามา
แต่บังเอิญ E-mail ที่ติดต่อเข้ามา ไม่มีคนคอยดูแล คอยตอบกลับ ซึ่งจะทำให้ลูกค้าต่างรอคำตอบ จากการสอบถามเข้ามา หรือบางแห่งอาจจะเว็บบอร์ดไว้สำหรับสื่อสารกับลูกค้า แต่ปรากฏว่ามีแต่ลูกค้าสอบถามเข้ามา แต่ไม่มีคนมาตอบเลย ซึ่งจะทำให้ภาพลักษณ์ของเว็บไซต์ดูไม่ประทับใจแก่ผู้ทื่เข้ามาอีกด้วย ดังนั้นควรให้ความสำคัญกับการติดต่อเข้ามาของลูกค้าอย่างสม่ำเสมอ
หรือมีการจัดเจ้าหน้าที่คอยดูแลเรื่องนี้ไปเลย จะดีที่สุด

8. ให้ความสำคัญกับเว็บไซต์น้อยเกินไป
บางครั้งคุณอาจจะให้ความสำคัญกับสื่ออื่นๆ มากเกินไป จนลืมสื่อเว็บไซต์ไปเลย ซึ่งความจริงแล้วสื่อเว็บไซต์  เป็นสื่อที่ลูกค้าสามารถเข้าถึงได้ง่ายมาก และสามารถให้ข้อมูลได้ลึกและมากกว่าสื่ออื่นๆ
ดังนั้นทุกครั้งที่มีการออกสื่ออื่นๆ ควรจะมีการใช้เว็บไซต์เป็นสื่อสนับสนุนและควบคู่ไปกับสื่ออื่นๆ ด้วย

9. โดเมน โฮสติ้งหมดอายุโดยไม่รู้ตัว
โดเมนเนม และการเช่าพื้นที่โฮสติ้งจะมีอายุการจดทะเบียนและการใช้งานเป็นปีๆ บางคนอาจจะใช้ติดต่อหลายปี แต่บางคนอาจจะสมัครใช้บริการทีละปี ซึ่งบางครั้ง คุณดันลืมติดตามหรือต่ออายุของโดเมนและโฮสติ้ง ซึ่งผลจะทำให้เว็บไซต์ของคุณเข้าไม่ได้ บางคนโชคร้ายถึงกับ โดเมนโดนคนอื่นแย่งเอาไป
หรือข้อมูลภายในเว็บไซต์ถูกลบออกหมดเลย เพราะไม่ได้เข้าไปติดตามดูเว็บไซต์อยู่บ่อยๆ
ทางที่ดีคุณควรให้ข้อมูลติดต่อที่สามารถติดต่อได้กับผู้ให้บริการโดเมนหรือโฮสติ้งและหมั่นเข้าไปดูเว็บไซต์อยู่บ่อยๆ หรือต่ออายุเว็บไซต์ของคุณไปล่วงหน้านานๆ และอย่าลืมจดวันที่เว็บไซต์ของคุณจะหมดอายุ ครั้งต่อไปไว้ด้วย

10. เว็บร้าง.... ไม่มีคนดูแล
ข้อนี้หนักสุด แย่สุดๆ เพราะเว็บไซต์บางแห่งถูกสร้างขึ้นมาแล้ว แต่ก็ไม่เคยมีการดูแลเปลี่ยนแปลงข้อมูลอีกเลย บางแห่งเจ้าของคิดว่าไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนแปลงข้อมูลอะไร บางแห่งหนักกว่านั้น คือเจ้าของลืมไปแล้วว่าตัวเองมีเว็บอยู่
 
เฮ้ออ แล้วแบบนี้จะมีเว็บไซต์ไปทำไหมหนอ?..........

หากคุณอ่านครบ 10 ข้อแล้วพบว่าคุณตรงกับบางส่วนก็รีบแก้ไขซะนะคะ แต่หากคุณพบว่าตรงกับคุณเกินครึ่งแนะนำว่า รีบกลับไปดูเว็บไซต์ของคุณอย่างใกล้ชิดดีกว่า .........




ทีมงาน MWE

 

 

Back
   
ข่าวอื่นๆที่น่าสนใจ
  ทำไมต้องจดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
  5 แนวทางสร้างกำไรโดยการลดต้นทุนอย่างยั่งยืน (โดยไม่ต้องลดคุณภาพ)
  4 เหตุผลทำไม Start-Up ถึงต้องทำ PR
  SEO หรือ PCC กลยุทธ์ไหนที่ตอบโจทย์ธุรกิจของคุณ!
  3 พื้นฐานที่คุณต้องรู้ในการทำ DIGITAL MARKETING ANALYTICS