ราคาสินค้าเกิดจากอะไรบ้าง
Call Us
02 612 9230-32, 080 064 8000
Member Login
Login
Forgot Password?  Register
 
Testimonial
" ออกมาเป็นที่พอใจมากคะได้สเป็คสีที่ระบุไว้เลยคะ แถมเจ้าหน้าที่ก็ใจดีคะ ทำให้ได้หมดทุกอย่างคะ บริการดีมาก กันเอง "
คุณเจ เจ้าของร้านเพชรทองเอราวัณเยาวราช
ราคาสินค้าเกิดจากอะไรบ้าง
1,986 View | 18 Jul 2013
ราคาสินค้าเกิดจากอะไรบ้าง

Photo belongs to he-sk inShare

  ในอุตสาหกรรมประเภทสินค้านั้นคงไม่ยากต่อการนิยามต้นทุน เพราะย่อมหมายถึงค่าแรงและวัตถุดิบเป็นสำคัญ
แต่มีเพียงแค่นั้นจริงหรือ? และสำหรับบริการล่ะ มีอะไรที่แตกต่างกันออกไปอีกหรือเปล่า?
ในโลกของ SMEs ทั้งในแง่ค้าปลีกและผลิตเพื่อส่งขาย ราคา เป็นตัวตัดสินที่ชัดเจนพอสมควรว่าลูกค้าหรือผู้บริโภค
จะสนใจหรือไม่ ซึ่งสิ่งที่ส่งผลสะท้อนจนเกิดเป็นราคาสินค้าหรือบริการนั้นก็คือ ต้นทุนนั่นเอง

   ในอุตสาหกรรมประเภทสินค้านั้นคงไม่ยากต่อการนิยามต้นทุน เพราะย่อมหมายถึงค่าแรงและวัตถุดิบเป็นสำคัญ
แต่มีเพียงแค่นั้นจริงหรือ? และสำหรับบริการล่ะ มีอะไรที่แตกต่างกันออกไปอีกหรือเปล่า? บทความของ
INCquity ตอนนี้จะมุ่งตอบคำถามเรื่องนี้เป็นสำคัญราคาขายของทั้งสินค้าและบริการควรสะท้อนต้นทุนของสิ่งต่างๆ
ดังต่อไปนี้ เราลองมาสำรวจกันว่าในฐานะนักธุรกิจเริ่มต้นที่รอบคอบ เราได้รวมสิ่งเหล่านี้เข้าไปไว้ในต้นทุนแล้วหรือยัง?

ค่าวัตถุดิบ
  ข้อนี้คงนิยามได้ไม่ยากว่าหมายถึงวัสดุพื้นฐานทุกอย่างที่ต้องนำมาประกอบ หรือแปรรูปก่อนประกอบจนเกิดเป็นสินค้าหนึ่งชิ้น
และวัตถุดิบเหล่านี้โดยมากมักมาเป็นจำนวนมากก่อนนำมาถูกตัดทอนย่อยๆ เพื่อทยอยใช้หรือนำมาใช้ในการผลิตตามคำสั่ง
ซื้อต่อครั้งในการบริการเอง สินค้าที่เป็นส่วนประกอบของบริการหลักๆ ของเราก็ถือว่าเข้าข่ายเหล่านี้ด้วยเช่นเดียวกัน
ตัวอย่างของวัตถุดิบเหล่านี้ก็เช่น ยาทาเล็บในธุรกิจร้านแต่งเล็บ ยาหม่องหรือสมุนไพรในลูกประคบที่เราซื้อมาทำเองในธุรกิจสปา
หรือค่าเอกสารที่เราต้องเตรียมให้ผู้เข้าอบรมหรือเด็กที่มาติว ในกรณีติวเตอร์หรือผู้สัมมนา เป็นต้นความเปลี่ยนแปลงของค่าวัตถุดิบ
อาจเกิดขึ้นได้สองกรณี คือการใช้วัตถุดิบต่อหน่วยให้คุ้มค่าขึ้น และการได้ราคาวัตถุดิบต่อหน่วยมาต่ำลงไม่ว่าจะด้วยการซื้อครั้งละ
จำนวนมากๆ หรือการต่อรองราคาก็ตาม

ค่าแรง
   แม้ว่าอัตราค่าแรงในประเทศไทยในปัจจุบัน (2556) นั้นจะพุ่งสูงขึ้นจนใกล้เคียงกับค่าแรงงานในประเทศอินเดียแล้ว
แต่โดยคุณภาพของงาน (แม้จะยังไม่ได้เทียบกับมาตรฐานใดๆ) เมื่อเทียบกับงานของอินเดีย หรือจีน
(ที่เราอาจมีค่าแรงสูงกว่าประมาณ 10-15% ในปัจจุบัน) ก็ยังจัดว่าคุ้มค่ากว่า โดยเฉพาะในสายตาของผู้บริโภค
ในยุโรปและทวีปอเมริกาที่ยังคงนิยมสินค้าที่มี ตรา Made in Thailand เพราะถือว่างานมีความประณีตอยู่มากกว่า
ข้อนี้เป็นความน่าภูมิใจของเราจริงๆ

   ฉะนั้นหากจะมองว่าปัญหาค่าแรงในไทยดูจะยากเกินแก้ เราอยากแนะนำว่าที่จริงควรมองว่าหากคุณภาพของเรายังอยู่ในระดับ
ที่นานาชาติ ให้การยอมรับอยู่ การผลิตเพื่อส่งออกเป็นหลัก โดยตั้งราคาราคาได้อย่างถูกต้องเหมาะสมนั้นก็เป็นแนวทางหนึ่งที่น่าสนใจ

ค่าดำเนินการ

SMEs ของไทยได้เปรียบมากกว่าในแง่ขนาดของออเดอร์ที่สามารถเสนอให้กับลูกค้าของเราได้
   ยิ่งขนาดธุรกิจใหญ่มากเท่าไร ค่าดำเนินการซึ่งหมายความรวมถึงค่าบริหารและจัดการเครื่องจักรแต่ละครั้งก็
จะสูงขึ้นไปด้วยเป็นเงาตามตัว และจุดนี้เองที่ SMEs ของไทยได้เปรียบมากกว่าในแง่ขนาดของออเดอร์ที่
สามารถเสนอให้กับลูกค้าของเรา ได้ถ้าปริมาณการผลิตในจีนต่อล็อตต่ำสุดอยู่ที่ประมาณ 5,000 ชิ้น
กับลูกค้าที่ต้องการงานประณีตและไม่ได้ต้องการงานต่อล็อตจำนวนมาก (300-2,000 ชิ้น) นั้น 

  โรงงานในไทยจึงได้เปรียบกว่ามากในแง่ความเหมาะสมในแง่ขนาดโรงงานต่อจำนวน ผลิตเราอาจเห็นว่าศักยภาพใน
การผลิตต่ำของเรานั้นไม่น่าจะใช่จุดขายหรือจุด แข็งของเราได้ แต่หากพิจารณาให้ดีจะเห็นว่าเรื่องนี้กลายเป็น
ข้อจำกัดของโรงงานในจีนที่ไม่ สามารถผลิตสินค้าจำนวนเล็กๆ ได้เลย การบริหารค่าดำเนินการให้สามารถ
ทำงานต่อล็อตได้อย่างรวดเร็ว ลดต้นทุนในส่วนนี้ได้ ก็จะสามารถทำให้ราคาต้นทุนของเราต่ำลงได้อีกเช่นเดียวกัน

อัตราแลกเปลี่ยนเงินตรา
   เราทำอะไรกับค่าเงินไม่ได้มากนักนอก จากจับตาดูไม่ให้เรื่องนี้กลายเป็นค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมในราคาสินค้า
(การคิดเผื่อไว้ตั้งแต่แรกจึงเป็นเรื่องที่ดี) และอีกอย่างที่อาจทำได้คือหากเราต้องเพิ่มกำลังการผลิตโดยอาศัยโรงงานใน
ประเทศเพื่อนบ้าน เรื่องอัตราแลกเปลี่ยนก็จะเป็นตัวแปรสำคัญที่ทำได้ทั้งทำให้ต้นทุนของเรา เพิ่มขึ้นหรือสมดุล
หรือแม้แต่ลดลงอากรและภาษีที่ประเทศนำเข้าเรียกเก็บเป็นการดีกว่าหากเราจะปรึกษาเรื่องนี้ กับกรมส่งเสริมการส่ง
ออกหรือหน่วยงานที่ทราบเรื่องนี้อย่างถ่องแท้ ทั้งระเบียบในประเทศและอัตราภาษี/อากรของประเทศต่างๆ

   ซึ่งมีความซับซ้อนยากง่ายต่างกัน  และควรพิจารณาความได้เปรียบเสียเปรียบในการส่งออกจากแต่ละประเทศด้วย
เช่น บางประเทศยอมให้สินค้าจากจีนส่งสินค้าไปขายได้ในอัตราภาษีที่ต่ำกว่า สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นทั้งต้นทุนและอุปสรรค
ของการขายสินค้าทั้งสิ้น

ค่าใช้จ่ายที่ไม่น่าจะเสียอื่นๆ
   การที่เราพูดภาษาอังกฤษไม่ได้ ทำให้เราไม่สามารถนำเสนอสินค้าของเราได้ด้วยตัวเอง ซึ่งน่าจะเรียกความมั่นใจจากคู่ค้าได้
หลายครั้งเป็นเหตุผลให้เราต้องใช้ตัวแทนจำหน่ายเพื่อทำหน้าที่ในการนำเสนอ สินค้าของเราแทน เพียงตัวแทนจำหน่ายบวกค่า
นายหน้าในการขายเข้ามาในราคาสินค้าของเรา ก็เป็นเหตุหนึ่งที่จะทำให้ต้นทุนของเราสูงขึ้นได้อย่างน่าใจหาย
(บางครั้งตัวแทนจำหน่ายอาจบวกขึ้นไปถึง 25%)แน่นอน เราอาจไปเรียนภาษาอังกฤษไม่ทันแล้ว แต่ก็ไม่เป็นไร
การต่อรองอย่างสมเหตุสมผล และการคิดถึงค่าใช้จ่ายส่วนนี้ในต้นทุน ก็อาจช่วยเราได้ในแง่ที่ทำให้เราได้ทราบถึงต้นทุนที่แท้จริง
และบริหารจัดการได้ดีขึ้นเสียตั้งแต่ก่อนจะถึงเวลาต้องพบกับลูกค้าของเรา

• • •
   สิ่งเหล่านี้ไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่เป็นเรื่องที่นักธุรกิจเริ่มต้นหลายคนอาจลืมนึกไปบ้าง หรืออาจไม่มองว่าเป็นต้นทุน
แต่ขอให้ทำใจไว้ส่วนหนึ่งเลยว่าไม่ว่าเราจะพยายามเลี่ยงขนาดไหน ต้นทุนเหล่านี้ไม่เคยหายไปและสุดท้ายก็จะ
ฟ้องราคาของมันเข้ามาในบัญชีราย จ่ายของเราอยู่ดีหวังว่าการทบทวนประเด็นเล็กๆ น้อยๆ เหล่านี้คงจะช่วยให้
เราบริหารจัดการราคาสินค้าของเราให้สะท้อนค่าที่แท้จริง ได้ดียิ่งขึ้น และตราบใดที่ราคาของสินค้าเหมาะสมเมื่อ
เทียบกับคุณภาพที่แท้จริง ก็ไม่มีเหตุผลใดที่เราจะไม่ควรรับกำไรในส่วนที่เราควรจะได้แต่อย่างใด

Photo belongs to Candescent

ที่มา : http://incquity.com/articles/hidden-cost-business
ทีมงาน mwe : Admin_Por
 
Back
   
ข่าวอื่นๆที่น่าสนใจ
  ทำไมต้องจดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
  5 แนวทางสร้างกำไรโดยการลดต้นทุนอย่างยั่งยืน (โดยไม่ต้องลดคุณภาพ)
  4 เหตุผลทำไม Start-Up ถึงต้องทำ PR
  SEO หรือ PCC กลยุทธ์ไหนที่ตอบโจทย์ธุรกิจของคุณ!
  3 พื้นฐานที่คุณต้องรู้ในการทำ DIGITAL MARKETING ANALYTICS