สำหรับผู้ประกอบการ SMEs การตลาดคือการสร้างโอกาสทางการขายเพื่อขยายและสร้างกำไรให้กับธุรกิจ
แนวคิดเรื่องการสร้างแบรนด์และการสร้างความสำคัญกับลูกค้า จึงอาจดูเป็นเรื่องไกลตัว สำหรับบางคน เพราะมันไม่ส่งผลต่อรายได้ในทันทีทันใด แต่นั่นก็เป็นเรื่องจำเป็นที่จะสร้างความจงภักดีต่อตราสินค้า ลูกค้าที่ภักดีจะสร้างคุณค่าที่ดีให้แก่ธุรกิจอย่างมหาศาล โดยเฉพาะการบอกปากต่อปาก ขณะเดียวกันก็ยังช่วยลดต้นทุนการขายให้ได้อีกด้วย
ไม่ว่าธุรกิจของคุณจะเป็นธุรกิจขนาดไหน ความสำเร็จทางการตลาดจะต้องเกิดจากการผสานกลยุทธ์ระยะยาวและกลยุทธ์ระยะสั้น เพื่อผลลัพท์ที่ดีที่สุด เทคนิคการตลาดต่อไปนี้อาจจะช่วยให้คุณประสบความสำเร็จด้านการตลาดได้ไม่ยาก
1. การไม่วางแผน คือการวางแผนเพื่อล้มเหลว
การวางแผนการตลาดถือเป็นเรื่องจำเป็น และเมื่อคุณมีแผนการตลาดแล้ว คุณควรใช้แผนนั้นเป็นคู่มือในการดำเนินการ ขณะเดียวกันก็ปรับปรุงแผนการตลาดดังกล่าวให้ทันต่อสถานการณ์อยู่เสมอ ลองเริ่มต้นจากวางแผนแบบบนลงล่าง กำหนดวิสัยทัศน์ทางธุรกิจของคุณ สร้างมูลค่าตราสินค้า และ กำหนดสถานทางการตลาด เมื่อทุกอย่างชัดเจนแล้ว จึงเริ่มวางแคมเปญการตลาดรูปแบบต่างๆ โดยที่ทุกอย่างควรสอดคล้องและเป็นไปในทิศทางเดียวกับวิสัยทัศน์ทางธุรกิจที่ กำหนดไว้
2. ความรู้คือพลัง - คุณต้องรู้จักตลาดของคุณ
ก่อนที่คุณจะตัดสินใจว่าคุณจะไปไหน คุณต้องรู้ก่อนว่าคุณจะเริ่มต้นจากไหน กำหนดตลาดของคุณ ไม่ว่าจะเป็นทางภูมิศาสตร์ หรือ ตามกลุ่มธุรกิจ/อุตสาหกรรม ค้นให้พบว่าคู่แข่งหลักของคุณคือใคร จุดแข้งและจุดอ่อนของพวกเขาคืออะไร ทัศนคติของลูกค้าและสังคมธุรกิจต่อบริษัทของคุณเป็นอย่างไร
3. รุ้จักคู่แข่งของคุณ
การจับดูคู่แข่งอย่างใกล้ชิดถือเป็นเรื่องที่จำเป็นต่อการวางกลยุทธ์การตลาดที่จะ นำไปสู่ความสำเร็จ เพราะไม่ว่าคู่แข่งของคุณจะทำอะไร ออกแคมเปญใหม่ มีข่าว ปรับราคาสินค้า เปลี่ยนแปลงนโยบาย สิ่งเหล่านี้จะมีผลกระทบต่อธุรกิจของคุณโดยตรง และต่อลูกค้าของคุณด้วย คุณควรทำตัวให้นำหน้าคู่แข่งหนึ่งก้าวเสมอ เตรียมพร้อม และ ตอบโต้ต่อการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในจังหวะที่เหมาะสม
4. กำหนดวัตถุประสงค์ที่ชัดเจน
การกำหนดวัตถุประสงค์ที่ชัดเจนถือเป็นเรื่องจำเป็นอย่างยิ่ง เพื่อให้มั่นใจว่า กิจกรรมการตลาดต่างๆ ของคุณมีจุดมุ่งหมายและวัดผลได้ ในการกำหนดวัตถุประสงค์ต้องกำหนดให้ชัดเจน กำหนดระยะเวลาที่แน่นอน และ ต้องมั่นใจว่าเป็นวัตถุประสงค์ที่ทำได้จริง
5. คุยกับลูกค้า
การสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับลูกค้าไม่เพียงแต่ทำให้ลูกค้ามีความภักดีต่อ ตราสินค้า หรือช่วยคุณขยายฐานลูกค้า แต่ยังมั่นใจได้ว่า ลูกค้าจะให้อภัยเมื่อมีความผิดพลาดเกิดขึ้นในกระบวนการจัดส่งหรือการบริการ ในยุคที่ลูกค้าคือพระเจ้าเช่นนี้ ความคิดเห็นของลูกค้า ไม่ว่าจะดีหรือไม่ สามารถแพร่ออกไปได้ เพียง"คลิก"เดียว ดังนั้นจงมั่นใจว่าคุณให้ข้อมูลใหม่แก่ลูกค้าอย่างต่อเนื่อง และ เปิดโอกาสให้ลูกค้าสามารถสื่อสารรกับคุณได้
6. กำหนดข้อความการสื่อสารที่ชัดเจน
เมื่อคุณมีความชัดเจนแล้วว่ากลุ่มเป้าหมายของคุณคือใตร และรู้ว่าพวกเขาต้องการอะไร จงเริ่มกำหนดข้อความที่คุณต้องการสื่อสารกับพวกเขา เพื่อโน้มน้าวให้พวกเขาเลือกซื้อสินค้า/บริการของคุณ มั่นใจว่าคุณต้องสื่อสารข้อความดังกล่าวอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอเพื่อให้ ได้สัมฤทะิ์ผลอย่างเต็มที่
7. โฆษณา อีเมลล์ หรือ ประชาสัมพันธ์? วิธีไหนดีที่สุด?
เครื่องมือการโฆษณาประชาสัมพันธ์ต่างๆ อาทิ โฆษณา ไดเร็คเมลล์ การตลาดออนไลน์ คือสิ่งที่หลายๆ คนเรียกว่า การตลาด แต่จริงๆ แล้ว มันคืกลไลในการส่งข้อความของคุณ กุญแจสำคัญที่จะช่วยให้คุณเลือกใช้เครื่องมือต่างๆ เหล่านี้ได้อย่างเหมาะสม คือ คุณต้องเข้าใจ และ รู้จักพฤติกรรมของกลุ่มเป้าหมาย ยิ่งมากเท่าไหร่ ยิ่งดีเท่านั้น ตัวอย่างเช่น พวกเขาชอบเข้าไปที่เว็ปไซต์อะไร อ่านนิตยสารเล่มไหน หรือ เข้าร่วมงานประเภทใด นั่นจะเปิดโอกาสให้คุณเข้าถึงพวกเขาได้มากขึ้น เมื่อรู้แล้ว คุณก็เริ่มสร้างแคมเปญที่จะกระตุ้นให้พวกเขาลงมือทำ
8. กำหนดงบประมาณ
ประเภทของกิจกรรมการตลาดที่คุณเลือก จะบอกได้ว่า คุณต้องใช้งบประมาณสักเท่าไหร่ จริงๆ แล้ เราต้องการจำกัดงบประมาณให้ต่ำที่สุดเท่าที่จะทำได้ ดังนั้นถ้าคุณมีเรื่องราวที่น่าสนใจ อาทิ ผลิตภัณฑ์ใหม่ ลูกค้าใหม่ กรณีศึกษาที่น่าสนใจ การทำประชาสัมพันธ์ผ่านนิตยสารเชิงธุรกิจ หนังสือพิมพ์ วิทยุ หรือ โทรทัศน์ ก็จะช่วยทำให้ธุรกิจของคุณแพร่หลายด้วยต้นทุนที่ต่ำ การโพสต์ผลิตภัณฑ์ หรือ บทความ ออนไลน์ ก็เป็นอีกแนวทางหนึ่งที่จะประชาสัมพันธ์ธุรกิจของคุณ
9. วัตผลความสำเร็จ
ไม่ว่าคุณจะเลือกดำเนินกิจกรรมการตลาดแบบใด คุณต้องกำหนดเป้าหมายเพื่อการวัดผล มันอาจจะเป็นการนับจำนวนครั้งที่ลูกค้ากลับมาถามรายละเอียดภายหลังการส่งได เร็คเมลล์ จำนวนครั้งที่ลูกค้าคลิกเข้ามาที่เว็ปไซต์ หรือ จำนวนสมาชิกที่สมัครขอรับจดหมายข่าว
10. เก็บผลตอบรับที่เกิดขึ้น และ ทำต่อไป - - การตลาดเป็นสิ่งที่ต้องทำอย่างต่อเนื่อง
กุญแจความสำเร็จทางการตลาดก็คือ การวิเคราะห์ ประเมินผล และปรับเปลี่ยนให้เหมาะสม การตลาดเป็นกระบวนการที่ต้องทำอย่างต่อเนื่อง และ ต้องปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับสถานการณ์อยู่เสมอ
ที่มา: SMEs Web - www.smeweb.com
|