วิธีขายสินค้าแฟชั่น ด้วยคอมมูนิตี้ออนไลน์
Call Us
02 612 9230-32, 080 064 8000
Member Login
Login
Forgot Password?  Register
 
Testimonial
" ออกมาเป็นที่พอใจมากคะได้สเป็คสีที่ระบุไว้เลยคะ แถมเจ้าหน้าที่ก็ใจดีคะ ทำให้ได้หมดทุกอย่างคะ บริการดีมาก กันเอง "
คุณเจ เจ้าของร้านเพชรทองเอราวัณเยาวราช
วิธีขายสินค้าแฟชั่น ด้วยคอมมูนิตี้ออนไลน์
2,304 View | 14 Jun 2010
    
      สวัสดีค่ะ ทักทายชาว MWE ทุกท่าน วันนี้ทีมงาน MWE จะมานำเสนอบทความดีๆ เหมือนเช่นเคยค่ะ บทความตอนนี้ทางทีมงานขออนุญาตคัดลอก ตัดตอนบางส่วนมาจากแมกกาซีนอี-คอมเมิร์ช เป็นบทความสาระเกี่ยวกับ Facebook ในการทำการตลาด คะ เอ๋! สงสัยกันไหมคะว่า Facebook คืออะไร Facebook คือ Social Network หรือสังคมออนไลน์ แห่งหนึ่งที่ได้รับความนิยมสูงแห่งหนึ่งในโลก เปรียบเสมือนแหล่งที่ให้ผู้คนมาทำความรู้จัก  สามารถที่จะแลกเปลี่ยนข้อมูล ข่าวสารกันแล้วมีการส่งต่อกระจายกันออกไปเรื่อยๆ จนกลายเป็นเครือข่ายสังคมขนาดใหญ่ จนทำให้สังคมออนไลน์เป็นเครือข่ายที่กว้างขวาง  ที่นี้คงพอเข้าใจกันแล้วนะคะว่า Facebook คืออะไร แล้วเจ้า Facebook จะมีประโยชน์อย่างไรต่อชาว MWE อย่างเช่น เว็บไซต์ sleepingpillsbrand.com และ moandfriends.com ที่เลือกใช้ Facebook มาการทำการตลาด ลองมาอ่านบทความนี้ดูกันนะคะ ว่าจะเป็นอย่างไร
 

วิธีขายสินค้าแฟชั่น ด้วยคอมมูนิตี้ออนไลน์

 
     ท่ามกลางวิกฤติการณ์ทางการเมืองที่ส่งผลกระทบ โดยตรงต่อพฤติกรรมการจับจ่ายใช้สอยของผู้บริโภคและธุรกิจรายย่อยต่างๆ สังคมออนไลน์อย่าง Facebook ได้กลายเป็นทางออกใหม่สำหรับร้านขายสินค้าแฟชั่นเพื่อเป็นช่องทางสื่อสารระหว่างแบรนด์กับกลุ่มลูกค้า เนื่องจากไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย และได้การตอบรับเป็นอย่างดี
 
      อย่างไรก็ตาม Facebook เองก็ไม่เพียงพอที่จะรองรับจำนวนสินค้าและความต้องการของลูกค้าที่เพิ่มมากขึ้น ร้านค้าที่กำลังขยายกิจการจึงเลือกเปิดเว็บไซต์ขายสินค้าของร้านขึ้น เพื่อลดความยุ่งยากในการบริหารจัดการ และทำตลาดผ่านเว็บคอมมูนิตี้ทำให้แบรนด์เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้ตรงกลุ่ม โดยมี Facebook ช่วยสนับสนุนช่องทางออนไลน์เหล่านี้ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
 

 

1. ใช้ Facebook บุกตลาดแฟชั่น

      ในบรรดาเครือข่ายสังคมออนไลน์ที่มีอยู่มากมายหลากหลาย Facebook เป็นเครือช่ายที่มีผู้หญิงอยู่เป็นสัดส่วนมากที่สุดเมื่อเทียบกับที่อื่นๆ เช่น Twitter ที่ส่วนใหญ่จะเป็นผู้ชายและสนใจเทคโนโลยี โดยเฉพาะในไทยซึ่งจาก 3.1 ล้านผู้ใช้ Facebookนั้น เป็นผู้หญิงถึง 1.7 ล้านคนหรือ 55% และมีช่วงอายุเฉลี่ยคือ 25-30 ปี อยู่ในวัยทำงานที่กำลังใส่ใจกับการแต่งตัวเป็นอย่างมาก ฉะนั้นหากธุรกิจแฟชั่นไม่ว่าจะรายใหญ่ไปจนถึงรายย่อยไม่ควรมองข้ามการเข้ามา “พูดคุย” กับสาวไทยที่มีกำลังซื้อเกือบสองล้านคนอย่างนี้เด็ดขาดเป้าหมายได้ตรงกลุ่ม โดยมี Facebook ช่วยสนับสนุนช่องทางออนไลน์เหล่านี้ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
 

ดีไซน์เนอร์ไทยแห่ลง Facebook

      ดีไซน์เนอร์ไทยกว่า 7 แบรนด์อย่าง ASAVA, Disaya, Geyhound, Kloset, Issue, Senada Theory, และ Sretsis ล้วนเป็นแบรนด์ไทยที่มีโอกาสได้แสดงแฟชั่นโชว์บนแคตวอร์กดังอย่าง ELLE, Fashion Week ทุกปี ล่าสุดแต่ะแบรนด์ได้สร้าง Page ของตนบน Facebook เพื่อโปรโมตสินค้าและให้ข้อมูลข่าวสารความเคลื่อนไหวของสินค้า ตลอดจนสร้างการรับรู้ในตราสินค้าผ่าน Social Network โดยใช้ภาพนางแบบที่สวมเสื้อผ้าหรือเครื่องประดับของตน

      แบรนด์แฟชั่นสไตล์ Modren-Vintage อย่าง Sleeping Pills เกิดจากการรวมตัวของคู่รักคือ “ขวัญและป๊อป” โดยฝ่ายหญิงคือ เฉลิมขวัญ สว่างนาค ซึ่งเรียนทางด้าน Fashion Design มาจากสหรัฐอเมริกา ทำหน้าที่เป็นผู้ออกแบบเลือกชิ้นผ้า ดูแลลการตัดเย็บ และคอยอัพเดทแฟชั่น เพื่อนำมาประยุกตให้เข้ากับคอนเซปต์ของร้านในขณะที่ป๊อปจะรับผิดชอบในส่วนของ Branding และดูแลเว็บไซต์
 
     ขวัญพูดถึงการทำตลาดให้กับ Sleeping Pills ว่า นอกจากจะเป็นสปอนเซอร์เสื้อผ้าให้รายการโทรทัศน์แล้วขวัญยังตัดสินใจสร้าง Page บน  Facebook เพื่อใช้เป็นอีกหนึ่งช่องทางในการนำเสนอสินค้าใหม่ๆ และรับฟังความคิดเห็นจากลูกค้าที่ซื้อสินค้าไปแล้ว การมี Page นั้น ทำให้เจ้าของร้านมีโอกาสในใกล้ชิดกับลูกค้าขึ้นโดย Sleeping Pills จะมีลูกค้าใหม่ประมาณ 20%

     ในแต่ละเดือน การมีปฏิสัมพันธ์ผ่าน Page มีส่วนช่วยสถานะลูกค้าใหม่ให้กลายเป็นลูกค้าประจำได้ง่ายขึ้น นอกจากนี้ขวัญยังเลือกลงโฆษณาผ่าน Facebook (Facebook Advertising) เพื่อแนะนำ Page ของร้านในช่วงแรกอีกด้วย

      ลูกค้าที่ชื่นชอบในตัวสินค้าก็ได้นำรูปถ่ายของตนพร้อมสินค้าที่ซื้อไป มาโพสบน Page อย่างต่อเนื่อง บวกกับความดูแลเอาใจใส่ลูกค้าของขวัญที่มีอย่างสม่ำเสมอส่งผลให้ Sleeping Pills รักษาฐานลูกค้าเก่าได้เป็นอย่างดีและยังได้ลูกค้าหน้าใหม่ๆ เพิ่มขึ้นอีกจำนวนมาก ปัจจุบัน  Sleeping Pills มีแฟนจำนวนกว่า 9,000 คน และเดือนกรกฎาคมนี้  Sleeping Pills มีอายุครบ 1 ปี เมื่อถึงวันนั้นเชื่อว่า  Sleeping Pills จะมีแฟนขึ้นหลักหมื่นแน่นอน

      ด้วยเอกลักษณ์ที่โดดเด่นของลายผ้าที่มีความหลากหลาย และยังมีบริการรับสั่งตัด (Made to Order) ทำให้ Mo & Friends มีจำนวนแฟนเกินหมื่นคนไปแล้วในระยะเวลาเพียงแค่ 6 เดือน เน้นความแตกต่างในตัวสินค้าและความเป็นกันเองจากเจ้าของร้านที่มีต่อลูกค้าอย่างสม่ำเสมอ

      หลังจากได้รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับสถิติของผู้ใช้ Facebook ในประเทศไทยว่ามีกว่า 3 ล้านคน และเป็นผู้หญิงเกือบ 2 ล้านคน ในจำนวน Facebook ที่เป็นผู้หญิงนั้นมีกลุ่มเป้าหมายของ  Mo & Friends กว่า 50% โอ๊ตจึงตัดสินใจสร้าง Page ให้กับร้านไปพร้อมๆ กับการซื้อโฆษณาบน Facebook (Facebook Advertising)  
 
     การตัดสินใจในครั้งนี้ส่งผลให้ Mo & Friends มีรายได้จาก Page สูงถึง 70% เมื่อเทียบกับจำนวนรายได้ทั้งหมด ปัจจุบัน Mo & Friends วางจำหน่ายที่ Isetan ชั้น 2 และที่ร้าน SIBLING สยามเซ็นเตอร์ชั้น 3

     หลายคนอาจคาดไม่ถึงว่าการ Facebook Page เพื่อทำหน้าที่เสมือนเว็บบอร์ดนั้นจะช่วยสร้างแบรนด์ให้กับสินค้าได้ดีไม่แพ้การซื้อโฆษณาบนสิ่งพิมพ์

     ดีไซน์เนอร์สาว ภัณฑิรา พรหมฟัง หรือ เจเน็ต เป็นเจ้าของ Madame Flamingo แบรนด์รองเท้าที่เจ้าของลงทุนไปเรียนออกแบบรองเท้าจาก ฟรอเรนซ์ ประเทศอิตาลีมาโดยตรง เจเน็ตเปิดเผยว่า หลังจากที่เปิดตัว Madame Flamingo เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2551 แล้วเธอก็ได้ทำเว็บไซต์ เพื่อโปรโมตสินค้าของตนเอง

     ด้วยความที่เจเน็ตเองก็คุ้นเคยและเล่น Facebook อยู่เป็นประจำ จึงจะตัดสินใจสร้าง Page ให้กับ  Madame Flamingo และใช้ Facebook Ads. ช่วยโปรโมท page อีกทางหนึ่ง ผลปรากฎว่า  ได้รับการตอบรับเป็นอย่างดีจากบรรดาแฟนๆ ที่มีกว่า 5,000 คน นอกจากเว็บไซต์และPage แล้ว  Madame Flamingo ยังมีจำหน่ายที่ห้างสรรพสินค้าเซน เซ็นทรัล พระราม 3 เซ็นทรัล เฟสติวัน พระราม 3 พัทยา และเซ็นทรัลกาดสวนแก้ว เชียงใหม่อีกด้วย

     แม้ว่าจะมีหน้าร้านเป็นของตนเองแต่เจ้าของร้านหลายราย เริ่มให้ความสำคัญกับการทำการตลาดผ่าน Facebook จะเห็นได้จากร้านเก่าแก่ที่มีมานานกว่า 3 ปี อย่าง Mama Say Zeed โดย โบว์ นิสานารถ หงส์บุญมา เจ้าของร้าน สัมผัสได้ถึงกระแสความแรงของ Facebook ผ่านประสบการณ์ส่วนตัวที่ตนเองก็เป็นหนึ่งในจำนวนหลายล้านคน ที่ใช้  Facebook เป็นช่องทางในการสื่อสารกับกลุ่มเพื่อน เธอจึงเห็นข้อดีในการใช้ Facebook Page เป็นตัวประชาสัมพันธ์  Mama Say Zeed  ให้กับกลุ่มคนที่ไม่มีโอกาสได้เลือกสินค้าด้วยตนเองและเป็นการอัพเดทสินค้าใหม่ให้กับลูกค้าประจำ

     โบว์บอกกับเราว่า เธอพอใจกับการเลือกใช้ Facebook Page ในการทำการตลาดเพราะกว่า 30% ของรายได้มาจากช่องงทางนี้ อาจเป็นเพราะกลุ่มเป้าหมายของMama Say Zeed เป็นกลุ่มคนส่วนใหญ่ที่ใช้ Facebook ปัจจุบัน Mama Say Zeed มีหน้าร้านอยู่ที่ตลาดนัดสวนจตุจักร และเร็วนี้กำลังจะเปิดอีกหนึงสาขาที่ห้างสรรพสินค้าแพลทตินั่ม

     สืบเนื่องจากผลกระทบทางการเมืองที่ทำให้ร้านค้าหลายร้านในย่านสยามแสควร์ประสบปัญหาเรื่องรายได้ Morning Shop ก็เป็นอีกหนึ่งร้านที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์นี้โดยตรง ภาระหนักจึงตกมาที่เจ้าของร้านคือ ชมนันท์ ธนิตยวงศ์ หากแต่เธอเลือกที่จะพลิกวิกฤติให้เป็นโอกาส โดนการเลือกหาช่องทางอื่นที่จะช่วยให้ร้านมีรายได้เข้ามาต่อเนื่องไม่มากก็น้อย

     ด้วยความที่เจ้าของร้าน มีความคุ้นเคยกับ Facebook เป็นอย่างดี จึงเกิดความคิดที่จะใช้ Facebook Page เป็นเครี่องมือแก้ปัญหาช่วงวิกฤติการณ์ทางการเมือง นับตั้งแต่  Morning Shopมี Page เป็นของตนเองตั้งแต่กลางเดือนเมษายน ก็ได้รับผลตอบรับเป็นที่น่าพอใจจากเดิมที่ลูกค้าสามารถแวะเวียนไปเลือกสินค้าที่ร้านด้วยตนเองก็ปรับวิธีการมาเป็นเลือกซื้อสินค้าผ่านทาง Page แทน ชมนันท์บอกกับเราว่า การใช้ Facebook Page นั้นนอกจากจะช่วยรักษาลูกค้าเก่าของ Morning Shop ไว้แล้วยังได้ลูกค้าใหม่เพิ่มขึ้นจากการบอกต่อกันผ่าน Facebook  อีกพอสมควร ปัจจุบัน Morning Shop มีจำนวนแฟนเกือบพันคน ซึ่งมาจากการบอกต่อกันผ่าน Facebook ล้วนๆ ถึงแม้ว่าวิธีการทำการตลาดผ่าน Facebook Page นั้น จะไม่ใช่ช่องทางหลักที่จะช่วยเพิ่มรายได้ให้กับ Morning Shop แต่ก็นับเป็นอีกหนึ่งช่องทางที่เจ้าของร้านจะใช้อย่างต่อเนื่อง แม้ว่าตอนนี้เหตุการณ์บ้านเมืองจะเข้าสู่ภาวะปกติแล้วก็ตาม

      Paa Shop ร้านค้าน้องใหม่ที่มีสองเพื่อนซี้คือ ภา-พิมภัสร์ สิริอัครเศรษฐ และหมิง-พฤณ พานิชพิบูล เป็นเจ้าของร้าน   Paa Shop เป็นร้านขายรองเท้าและเสื้อดีไซน์เก๋ซึ่งมีหน้าร้านอยู่สวนจตุจักร ภาบอกกับเราว่าในช่วงแรก ได้ใช้ Facebook ส่วนตัว ในการโปรโมตสินค้าของร้าน ต่อมาระยะหลังมีลูกค้าให้ความสนใจสอบถามข้อมูลเกี่ยวกับสินค้าเป็นจำนวนมาก

     ทั้งสองจึงตัดสินใจสร้าง Page ให้กับร้านเมื่อต้นพฤษภาคมที่ผ่านมาเพราะนอกจากจะแยกเรื่องส่วนตัวกับเรื่องงานที่สื่อสารผ่าน Facebook ออกจากกันได้แล้ว ยังเห็นข้อดีอีกอย่างหนึ่งคือ การใช้ Facebook Page เป็นการทำการตลาดที่ไม่ต้องใช้ต้นทุนใดๆ  นอกจากสละเวลาในการถ่ายรูปสินค้าใหม่ๆ เพื่ออัพเดทให้แฟนของร้านค้าและคอยตอบโต้กับแฟนที่เข้สมาสอบถามรายละเอียดต่างๆ อยู่เป็นระยะๆ หากลูกค้าคนไหนสนใจก็สามารถไปเลือกซื้อสินค้าที่หน้าร้านได้

     แม้ในตอนนี้ Paa Shop จะมีจำนวนแฟนเพียง 500 คน แต่ก็นับเป็นการเริ่มต้นที่ดีสำหรับPage ที่มีอายุเพียง 1 เดือนเท่านั้น และในอนาคตอันใกล้ เจ้าของร้านเองก็สนใจที่จะใช้ Facebook Adevrtising เป็นตัวช่วยในการประชาสัมพันธ์ Page ของPaa Shop อีกด้วย

     นอกจากนี้ ยังมีอีกหลายแบรนด์ เช่น Kloset,ที่มีจำนวนแฟนกว่า 6,000 คน และ Disaya กับ Greyhound ที่มีแฟนอยู่แบรนด์ละกว่า 3,000 คน แสดงให้เห็นว่า ช่องทางการทำการตลาดผ่าน Facebook  ก็เป็นอีกหนึ่งช่องทางที่ได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี ทำให้เจ้าของธุรกิจเข้าถึงความต้องการของลูกค้าได้มากขึ้น ทั้งยังสามารถรับฟังเสียงสะท้อนต่างๆ จากลูกค้าได้มากขึ้นอีกด้วย 

 

2. Mo & Friends อีกหนึ่งแบรนด์สินค้าแฟชั่นไทย
ที่ประสบความสำเร็จจาก facebook

 

 

     หากใครที่ชอบช้อปปิ้งเสื้อผ้าแฟชั่นและเป็นหนึ่งในแฟนคลับของ Facebook คงเคยเห็นแบรนด์สินค้าชื่อ  Mo & Friends ปรากฏเชื้อเชิญให้เป็น Fan Page บ้างและจะสะดุดมาเป็นพิเศษสำหรับกลุ่มคนวัยทำงานที่ต้องการเสื้อผ้าแฟชั่นเก๋ๆ ใส่ไปทำงานกัน

ที่มาของ Mo & Friends
 
     ธนิดา เตชะอังกูร หรือคุณโอ๊ต เจ้าของร้าน  Mo & Friends เล่าว่า เริ่มความชื่นชอบเรื่องผ้า ชอบดูรายละเอียดของเนื้อผ้าและชอบเลือกซื้อผ้ามาให้ช่างตัดมากกว่าซื้อตามร้าน จากความชอบส่วนตัวจึงเกิดไอเดียเปิดร้านเสื้อผ้าเป็นของตัวเองโดยเน้นการตัดเย็บและขายให้กับลูกค้าที่ชอบการตัดเสื้อจากร้านเหมือนกัน โดยแบบเสื้อของที่ร้านจะไม่จัดจ้านจนเกินไป ความตั้งใจในการออกแบบแต่ละครั้งเกิดจากต้องการดีไซน์ให้คนทำงานได้มีเสื้อ็เก๋ๆ ใส่ไปทำงานออฟฟิศ

     สำหรับชื่อร้านธนิดา เล่าว่า ลูกค้าหลายคนต่างคิดว่าตนเองชื่อ Mo แต่แท้จริงแล้วมาจากชื่อสุนัขตัวโปรดที่บ้านเพราะชอบชื่อนี้เลยนำมาตั้งชื่อร้านและส่วนคำว่า and friends เพราะที่บ้านมีสุนัขหลายตัวจึงนำมาตั้งชื่อด้วยจึงกลายเป็น  Mo & Friends  และเลือกเปิดบริการผ่านช่อง

 

กระแสจากเว็บยอดฮิตชี้ช่องทาง Facebook

      ร้าน  Mo & Friends เริ่มทำการประชาสัมพันธ์ผ่านเว็บไซต์ Socail Network ยอดนิยมนั่นคือ Facebook เพื่อบุกตลาดให้ลูกค้าได้รู้จักเป็นแห่งแรก เนื่องจากแฟน “อ้น ภคณัฐ ตันประยูร” มองว่าเป็นสังคมออนไลน์ที่ได้รับความนิยมอย่างมากและแบรนด์วินค้าชื่อดังในต่างประเทศล้วนมาทำการตลาดในสังคมออนไลน์แห่งนี้กันอย่างมากและค่อนข้างประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี เช่น ร้าน TOP SHOP  ภคณัฐ เล่าว่า “ย้อนไปเมื่อ 6 เดือน ก่อนตอนที่เริ่มทำธุรกิจขายเสื้อผ้าผ่านช่องทางออนไลน์กันนั้น เราทั้งคู่ไม่มีความรู้เรื่องการขายผ่านช่องทางนี้กันเท่าไร ด้านโอ๊ตจะมีความรู้เรื่องผ้าและดีไซน์ส่วนผมมีความรู้เรื่องเว็บไซต์กับการตลาด ดังนั้น จึงเริ่มต้นมองว่าทำอย่างไรเพื่อประชาสัมพันธ์ให้ลูกค้าได้รู้จักกับสินค้าของร้านเราในแบบง่ายๆ โดยไม่ต้องลงทุนและใกล้ตัวเขามากที่สุดทำให้คำตอบที่ได้คือ Facebook 

      ในเดือนแรกของการเปิดร้านกลุ่มที่เข้ามาเป็นลูกค้าส่วนใหญ่คือเพื่อนๆ ของพวกเราใน Facebook หลังจากที่นำเสื้อผ้าไปใส่เพื่อนของเขาเห็นและชอบแบบเสื้อจึงเกิดการบอกปากต่อปากกันทำให้เริ่มมีคนทั่วไปเข้ามาใน Facebookของร้านเพิ่มขึ้น และนอกจากนี้ได้นำเสนอให้กับเพื่อนที่เป็นสไตลิสต์นิตยสารแฟชั่น นำเสื้อผ้าของร้านไปถ่ายแฟชั่นไปลงนิตยสารด้วย ถือเป็นการประชาสัมพันธ์และเป็นการสร้างแบรนด์ควบคู่กันไปด้วยเพื่อให้เป็นที่รู้จักและน่าเชื่อถือมากขึ้น

      อีกสาเหตุหนึ่งที่คาดว่าทำให้เสื้อผ้าของร้นได้รับความนิยมอย่างรวดเร็วเนื่องจาก คุณนาตาลี เจียรวนนท์ ซึ่งเป็นเพื่อนสมัยเรียนมัธยมได้นำเสื้อผ้าของที่ร้านไปเข้าฉากในละครเรื่อง กุหลาบเหนือเมฆ ซึ่งทำให้ดารานักแสดงและคนในกองถ่ายเห็นเกิดชอบกัน และมีการบอกต่อกับเพื่อนให้เข้ามาดูที่ Facebook ทำให้ร้านเสื้อของเรารู้จักมากขึ้น ธนิดาเล่าเสริม

     ภคณัฐเล่าต่อว่า เครื่องมือสำคัญที่ทำให้เพิ่มยอดคนเข้าชม Fan Page ร้านบน Facebook ได้รวดเร็วและค่อนข้างตรงกับกลุ่มเป้าหมายมากที่สุด นั่นคือ การลงโฆษณาบน Facebook  เนื่องจากกลุ่มคนที่เล่นบน Facebook เป็นประจำอยู่แล้ว รวมถึงระบบโฆษณาของ Facebook มีการให้ระบุถึงความต้องการค่อนข้างละเอียดในการลงโฆษณาเพื่อให้แสดงผลต่อกลุ่มลูกค้าที่เราต้องการจริงๆ
 
    “เราลงโฆษณาเพียงแค่ 1 วัน ปรากฏว่ามีคนเข้ามาในหน้า Fan Page ร้านมากกว่า 100 คน ทำให้เห็นถึงประสิทธิภาพของโฆษณาบน Facebook อย่างมากที่สำคัญได้ลูกค้าที่ชื่นชอบเสื้อผ้าของร้านจริงๆ ทำให้กลุ่มลูกค้าประจำจากการลงโฆษณาพอสมควร และลูกค้ากลุ่มนี้ก็ได้ทำการบอกต่อเพื่อนในเครือข่ายทำให้ร้านมีลูกค้าเพิ่มอย่างต่อเนื่อง”

     ปัจจุบันนี้ ทางร้านยังคงลงโฆษณาบน Facebook อย่างต่อเนื่อง เพราะมองว่าเป็นการประชาสัมพันธ์ ทางการตลาดให้ลูกค้าที่ยังไม่รู้จักร้านของเราได้เห็นและค่าโฆษณา Facebook ไม่ได้สูงมากนัก เนื่องจากสามารถกำหนดงบประมาณในการลงแต่ละครั้งได้ ซึ่งเอื้อต่อการใช้เป็นสื่อประชาสัมพันธ์ของร้านค้าใหม่ ที่ยังไม่มีรายได้มากนักด้วย

 

ประสบการณ์จากการเริ่มนับหนึ่ง 
 
      ภคณัฐ เล่าว่า การบริหารธุรกิจของร้านเสื้อผ้าของเราตอนแรกเป็นแบบเรียนรู้ไปเรื่อยๆ โดยปราศจากการวางแผนทำให้ได้รับประสบการณ์จากการลองผิดลองถูกกันพอสมควร เช่น การทำประชาสัมพันธ์บน Facebook ไม่ควรไปโพสไว้ตามหน้า Page ของสมาชิกคนอื่นเหมือนที่บางคนคุ้นเคยในการทำบนhi5 เพราะจะโดนแจ้งเตือนจาก Facebook หรือถ้าร้ายแรงอาจโดนสั่งปิด Account เลย

      นอกจากนี้หากคุณเปิดร้านค้าออนไลน์ โดยปราศจากการชำระเงินออนไลน์คุณควรมีระบบหลังร้านที่ดีในการบริหารจัดการใบสั่งซื้อและจัดส่งสินค้าเพราะอาจทำให้ตรวจเช็คในการโอนเงินลำบากและอาจมีข้อผิดพลาดเกิดขึ้นได้

     “มีครั้งหนึ่งลูกค้าโอนชำระเงินค่าเสื้อราคา 1,900 บาท แต่เวลาโอนจริงมาแค่ 19 บาท ซึ่งเราเชื่อว่าลูกค้าคงไม่ได้ตั้งใจอาจรีบทำให้กดจำนวนผิดและลืมตรวจสอบ ซึ่งถือว่าโอ๊ตของผิดด้วยที่ไม่ได้เช็คให้ละเอียดพอลูกค้าแจ้งมาก็ทำการจัดส่งเลย แต่เมื่อกลับมาเช็คยอดรายการโอนเงินตกใจเลยว่าเป็นลูกค้าคนไหนโอนมาทำให้ต้องมาจัดระบบการสั่งซื้อใหม่โดยสร้างอีเมล์ใหม่เพื่อแจ้งการโอนเงินโดยเฉพาะ”

 

แยกพื้นที่การขายกับประชาสัมพันธ์ชัดเจน
 
      ภคณัฐ เล่าต่อว่า หลังจากที่ประชาสัมพันธ์ ร้านเสื้อผ้าผ่าน Facebook ได้ระยะหนึ่ง จึงคิดสร้างเว็บไซต์ร้นค้าขึ้นมาโดยเฉพาะเพื่อรองรับกับความต้องการที่เพิ่มมากขึ้น ซึ่งภายในเว็บไซต์จะเป็นรูปแบบร้านค้าออนไลน์ที่เลือกสินค้าและทำการสั่งซื้อผ่านเว็บไซต์ได้ทันที เนื่องจากตอนแรกจะรับสั่งซื้อทางโทรศัพท์และผ่านอีเมล์แต่ช่วงหลังมีการสั่งซื้อเข้ามามากทำให้บริหารจัดการลำบาก ดังนั้น ตอนนี้ Facebook จึงกลายเป็นพื้นที่ Social Marketing ของร้านเท่านั้น

     “สำหรับบางคนมีการสั่งซื้อผ่าน Facebook โดยไปโพสคอมเมนท์มนหน้าที่ร้านโชว์รูปเสื้อผ้า ซึ่งโอ๊ตมองว่าค่อนข้างทำให้เจ้าของร้านไม่มั่นใจเพราะไม่มีหลักฐานอ้างอิงที่จะการันตีว่ามีความต้องการสั่งซื้อจริงหรือไม่ ดังนั้น การสร้างแบบฟอร์มใบสั่งซื้อให้กรอกแบบออนไลน์ขึ้นมาทำให้ทั้งร้านและลูกค้ามีหลักฐานและมั่นใจกันมากยิ่งขึ้น”ลูกค้าคนไหนโอนมาทำให้ต้องมาจัดระบบการสั่งซื้อใหม่โดยสร้างอีเมล์ใหม่เพื่อแจ้งการโอนเงินโดยเฉพาะ”

 

หน้า Fan Page Facebook ถือเป็นหน้าตาร้านเช่นกัน

      ภคณัฐ ให้ความคิดเห็นว่าร้านเสื้อผ้าที่ใช้ Facebook มาโปรโมตขายสินค้าต้องให้ความสำคัญกับการออกแบบหน้า Fan Page เพื่อสร้างจุดดึงดูดลูกค้าด้วย หากได้เข้าไปเป็น Fan ของแบรนด์สินค้าเสื้อผ้าต่างประเทศจะพบว่ามีการตกแต่งหน้า Facebook ให้รู้สึกเป็นหน้า display ร้านขายเสื้อเลยไม่ใช้หน้า Fan Page ขงอคนทั่วไป เช่น ร้าน Top Shop ที่ชอบเข้าไปดูสไตล์การตกแต่งหน้าเว็บเพจของแบรนด์นี้และมาปรับใช้กับหน้า Fan Page ของร้านซึ่งเขาจะมีการจัดวางรูป การเลือกรูป และใช้ระบบของ Facebook ที่จัดมาไว้ให้เป็นเครื่องมือการตลาดได้เป็นอย่างดี

     “โอ๊ตมองว่าการโชว์แบบเสื้อผ้าให้กับลูกค้าดูผ่านหน้า Facebook หรือเว็บไซต์เป็นสิ่งสำคัญเพราะสิ่งแรกที่ลูกค้าสะดุดอันดับแรกคือ รูปที่เราถ่ายพรีเซนส์เสื้อผ้าและถ้าจะให้เสือ้ผ้าดึงดูดจริงต้องใช้นางแบบในการพรีเซนส์เสื้อผ้ามากกว่าการเอาไม้แขวนหรือหุ่นมาใส่ เพราะลูกค้าบางคนเขาจะไม่เข้าใจหรอกว่าถ้าใส่จริงจะออกมาเป็นแบบไหนทำให้ไม่มั่นใจในการซื้อเสื้อผ้าจากเว็บไซต์ได้”

 

เผยเคล็ดลับความสำเร็จ

      ธนิดา เล่าว่า ตอนแรกที่เริ่มทำธุรกิจไม่ได้คาดหวังว่าจะสร้างผลกำไรให้ในระยะเวลารวดเร็วเช่นนี้ เพราะไม่ได้วางแผนธุรกิจตั้งแต่แรกเพียงแค่เกิดจากชอบและลองทำขายเท่านั้น ดังนั้นสิ่งที่ได้รับการยอมรับจากลูกค้าเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ นอกจากที่เพื่อนช่วยกันบอกต่อแล้วคิดว่าเป็นเรื่องของการดูแลเอาใจใส่ลูกค้าและเอาใจเขามาใส่ใจเรา

      “ถ้าส่งเสื้อผ้าให้กับลูกค้าแต่ปรากฏว่าใส่ไม่ได้ โอ๊ตจะบอกให้ส่งกลับมาเพื่อปรับแก้ให้ตามที่ต้องการทันที อยากให้ลูกค้าซื้อสินค้าไปแล้วรู้สึกแฮปปี้มากที่สุด ถ้าลูกค้าไม่แฮปปี้โอ๊ตก็จะคืนเงินเลย เพราะต้องการทำธุรกิจที่แฮปปี้ทั้งผู้ขายและผู้ซื้อ”
 
     “หรือบางครั้งลูกค้าสั่งซื้อเสื้อผ้าไปสักระยะแล้วแจ้งกลับมาว่าเพิ่งลองใส่ปรากฏว่าใส่ไม่ได้จะขอส่งมาเปลี่ยนได้ไหม โอ๊ตยอมให้เปลี่ยนถึงแม้จะหลายอาทิตย์ก็ตาม ซึ่งบางร้านจะไม่ยอมให้เปลี่ยน เหตุการณ์นี้เกิดจากประสบการณ์ตรงของโอ๊ตที่สั่งซื้อเสื้อผ้าผ่านอินเตอร์เน็ตแล้วพอหยิบมาใส่และใส่ไม่ได้จะขอเปลี่ยน โดยบอกว่าจะเพิ่มเงินก็ได้แต่เขาไม่ยอม ทำให้รู้สึกถึงความรู้สึกของลูกค้า”

      ภาษาที่พูดคุยกับลูกค้ามีส่วนสำคัญในการขายสินค้า ถึงแม้การสื่อสารส่วนใหญ่ของร้านส่วนใหญ่จะอยู่บน Facebook แต่บางครั้งต้องติดต่อกับลูกค้าผ่านโทรศัพท์มือถือด้วย ดังนั้น ภาษาที่ใช้พูดคุยกับลูกค้าค่อนข้างใช้ภาษาที่กึ่งทางการไม่ตีสนิทมากจนเกินไปและไม่ห่างเหินจนเกินไป จะสังเกตว่าบน Facebook ภาษาที่โต้ตอบกับลูกค้าค่อนข้างสุภาพและไม่พูดจาหยอกเล่นกับลูกค้ามากนัก

      “ลูกค้าส่วนใหญ่ของโอ๊ตจะเป็นวัยทำงาน 30-50 ปี ดังนั้น เวลาพูดคุยโต้ตอบกันทาง Facebook หรือโทรศัพท์มือถือ โอ๊ตจะมีคำว่าคุณตลอดและจะไม่เห็นการพูดจาจ๊ะจ๋าจากโอ๊ตเท่าไรเพราะถือว่าเป็นการให้เกียรติลูกค้าของเราทุกคน เนื่องจากบางคนทีหน้าที่การงานตำแหน่งสูงและอายุมากกว่าเรา”

 

 ก้าวสู่อีคอมเมิรช์เต็มรูปแบบ

      ภคณัฐแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการทำร้านค้าให้เป็นรูปแบบอีคอมเมิร์ชแบบครบวงจรว่า ต้องยอมรับว่าตอนนี้หากพูดถึงธุรกิจอีคอมเมิร์ชในไทย สำหรับผมเองยังไม่ค่อยเข้าใจระบบของมันดีเท่าไรนัก เช่น การชำระเงินผ่านช่องทางออนไลน์ว่าในเมืองไทยมีระบบที่จะทำให้ร้านค้าหรือลูกค้าเชื่อมั่นได้อย่างไร และเชื่อว่าขณะนี้เมืองไทย คนส่วนใหญ่ยังไม่ได้ซื้อของออนไลน์กันแบบเมืองนอกที่คลิกสั่งซื้อและชำระเงินผ่านออนไลน์ทันที ส่วนใหญ่น่าจะทำการโอนเงินผ่านธนาคารบัญชีมากกว่า

      “โอ๊ตมองว่าตอนนี้ลูกค้าไม่ได้ตัดสินใจซื้อสินค้าของร้านเพราะระบบการชำระเงินที่สะดวกสบายเป็นอันดับหนึ่งแต่เขาเลือกเพราะสินค้าของร้านได้รับความนิยมจากเพื่อนในสังคมเดียวกันหรือการเขียนตอมเมนต์ถึงร้านจากลูกค้าในร้านมากกว่า เพราะลูกค้าที่เข้าไปในเว็บไซต์ Official ของร้านก่อนที่จะเข้ามาดูข้อมูลจากปากของลูกค้าใน Facebook ด้วยเพื่อการตัดสินใจซื้อ ดังนั้นจึงคิดว่าระบบชำระเงินยังไม่จำเป็นสำหรับร้านตอนนี้เพราะทุกคนยังรู้สึกว่าการโอนเงินผ่านตู้เอทีเอ็มเข้าบัญชีร้านค้าเป็นวิธีที่ดีที่สุด”

       ภคณัฐ เสริมว่า ในอนาคตหากเทรนด์หรือกระแสการซื้อขายบนโลกออนไลน์ของเมืองไทยเปลี่ยนแปลงไปแน่นอนร้านของเราคงต้องมีการปรับปรุงระบบเพื่อให้ลูกค้าได้รับความสะดวกสบายเพิ่มมากขึ้นและเอื้อต่อการบริหารจัดการของร้านด้วยเช่นกัน

       ปัจจุบันจำนวนสมาชิกของแฟนเพจ mo&friends มีประมาณ 1 หมื่นกว่าคนแล้ว ตั้งแต่เปิดร้านบน Facebook มียอดการสั่งซื้อเพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยร้านจะออกคอลเล็กชั่นใหม่ทุกอาทิตย์ประมาณ 10 แบบตลอด และจะมีลูกค้าประจำที่สั่งทุกแบบประมาณ 20-30 ราย ซึ่งถือว่าประสบความสำเร็จเกินเป้าหมายที่คาดไว้อย่างมากจริง ธนิดา กล่าว”

      ตอนนี้มีร้านค้าก้าวเข้ามาใน Facebook เพื่อทำการประชาสัมพันธ์ร้านรวมถึงขายสินค้าในพื้นที่ออนไลน์แห่งนี้ค่อนข้างมาก ซึ่งมองว่าเป็นสิ่งที่ดีเพราะถ้าเปรียบ Facebook เป็นย่านสยามสแควร์ ถ้ามีร้านค้าเพียง 3 ร้าน คนที่เข้ามาในย่านนี้อาจมีแค่ 300 คน แต่ถ้ามี้รานค้าให้เลือกช้อปปิ้งมากกว่า 100 ร้าน คนต้องเพิ่มจำนวนร้านอย่างแน่นอน ดังนั้นจึงอยากให้ร้านค้าเข้ามากันเพื่อจะได้ช่วยทำให้ตลาดร้านค้าบน Facebook ขยายเพื่อเป็นเหตุจูงใจให้ลูกค้าเข้ามามากขึ้นด้วย ภคณัฐกล่าวปิดท้าย
 

ที่มา :แมกกาซีน อี-คอมเมิร์ช ฉบับมิถุนายน 2553

Download PDF Flie

Back
   
ข่าวอื่นๆที่น่าสนใจ
  ทำไมต้องจดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
  5 แนวทางสร้างกำไรโดยการลดต้นทุนอย่างยั่งยืน (โดยไม่ต้องลดคุณภาพ)
  4 เหตุผลทำไม Start-Up ถึงต้องทำ PR
  SEO หรือ PCC กลยุทธ์ไหนที่ตอบโจทย์ธุรกิจของคุณ!
  3 พื้นฐานที่คุณต้องรู้ในการทำ DIGITAL MARKETING ANALYTICS