ป้องกันทรัพย์สินบนโลกดิจิตอล
Call Us
02 612 9230-32, 080 064 8000
Member Login
Login
Forgot Password?  Register
 
Testimonial
" ออกมาเป็นที่พอใจมากคะได้สเป็คสีที่ระบุไว้เลยคะ แถมเจ้าหน้าที่ก็ใจดีคะ ทำให้ได้หมดทุกอย่างคะ บริการดีมาก กันเอง "
คุณเจ เจ้าของร้านเพชรทองเอราวัณเยาวราช
ป้องกันทรัพย์สินบนโลกดิจิตอล
2,307 View | 17 Jul 2013





ป้องกันทรัพย์สินบนโลกดิจิตอล

 
                 บ่อยครั้งเรามักจะพบเห็นบุคคลที่คัดลอกผลงานมาเผยแพร่บนโลกออนไลน์ ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มสื่อมวลชน บล็อกเกอร์ หรือบุคคลที่พยายามจะทำคะแนนให้ได้อันดับดีๆ ซึ่งในบางครั้งกลุ่มคนเหล่านี้ละเลยที่จะแสดงความรับผิดชอบต่อแหล่งที่มาของคอนเทนต์ซึ่งเสี่ยงต่อการฟ้องร้องในเรื่องการละเมิดลิขสิทธิ์

รู้ทันการละเมิดลิขสิทธิ์ยุคดิจิตอล
               การเติบโตของโมบายล์อินเทอร์เน็ตส่งผลให้ทุกวันนี้เจอกรณีของการละเมิดลิขสิทธิ์ที่เป็นแอพพลิเคชั่นบนโมบายล์มากขึ้น นอกจากนี้การละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาบนเว็บไซต์ยังคงมีอย่างต่อเนื่อง โดยเกิดจากทัศนคติที่ผิด หรือการตั้งใจด้วย ซึ่งถ้าเป็นการนำเสนอคอนเทนต์บนโลกออนไลน์ การละเมิดลิขสิทธิ์สามารถทำได้ง่ายมากขึ้นและหาคนทำผิดยากขึ้น ดังนั้น ควรทำความเข้าใจและตั้งรับการถูกละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่นด้วย
ใครเสี่ยงต่อการละเมิดลิขสิทธิ์
ไพบูลย์ อมรภิญญโญเกียรติ ผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายลิขสิทธิ์ด้านอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์ กล่าวว่า การละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาบนสื่อออนไลน์นั้น สาเหตุหลักเกิดจากการมีทัศนคติที่ผิดในการมองคอนเทนต์ที่เผยแพร่บนเว็บไซต์ต่างๆว่าเป็นคอนเทนต์ฟรี เพราะเปิดให้ทุกคนเข้าถึงข้อมูลได้ จึงคิดว่าสามารถเลือกคอนเทนต์อะไรก็ได้มาใช้งานตามความต้องการของตน
                ไพบูลย์ กล่าวต่อว่า จากทัศนคติที่ผิด ทำให้คน 3 กลุ่ม ที่เสี่ยงต่อการละเมิดลิขสิทธิ์บนโลกออนไลน์มากที่สุด ได้แก่ นักพัฒนาเทคโนโลยี เจ้าของเว็บไซต์หรือซอฟต์แวร์ และสื่อมวลชน เพราะต่างมองในแง่ของการทำหน้าที่ละวัตถุประสงค์ของตน โดยละเลยการให้ความสำคัญทางด้านกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญาบนโลกออนไลน์ จึงทำให้เกิดปัญหาขึ้นและส่งผลต่อเจ้าของคอนเทนต์ที่แท้จริง
                โดยมุมมองของนักพัฒนาเทคโนโลยีนั้นคิดเพียงว่า ทำอย่างไรให้เว็บไซต์แพลตฟอร์มหรือแอพพลิเคชั่นของตัวเองมีความน่าสนใจและดึงดูดคนให้เข้ามาใช้งานมากที่สุด เช่น การสร้างโปรแกรมเพื่อดึงเนื้อหาคอนเทนต์ข่าวหรือบทความจากเว็บไซต์ มาเผยแพร่บนแอพฯของตนให้กับสมาชิกเพื่อเพิ่มมูลค่าให้แอพพลิเคชั่นของตนเองในการต่อยอดขายโฆษณาให้กับแอพฯนั้น โดยไม่คำนึงถึงความถูกต้องในการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาและลิขสิทธิ์ผลงานของผู้ผลิตคอนเทนต์
                สำหรับส่วนของเจ้าของเว็บไซต์หรือซอฟต์แวร์เองมองเพียงว่าทำอย่างไรจะนำเสนอคอนเทนต์หรือแอพพลิเคชั่นที่ตอบสนองความต้องการของผู้ใช้ เช่น แอปเปิลได้มีการให้ API แก่นักพัฒนาเพื่อสร้างแอพพลิเคชั่นในการเปิดให้บริการบน App Store ซึ่งการคัดกรองแอพฯที่ให้บริการนั้นจะตรวจสอบการทำงานว่ารองรับกับระบบของแอปเปิลได้เท่านั้น แต่จะไม่ได้ตรวจสอบถึงความถูกต้องว่าคอนเทนต์ที่บรรจุอยู่ในแอพฯ นั้นว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์หรือละเมิดเครื่องหมายการค้าหรือไม่
                ด้วยเหตุนี้ แอปเปิลจึงได้ถูกคดีฟ้องร้องโทษฐานเปิดโอกาสให้นักพัฒนาสร้างแอพพลิเคชั่นที่มีการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาผู้อื่นให้บริการบนแพลตฟอร์มของตน ซึ่งกูเกิลก็ถูกคดีฟ้องร้องในลักษณะเดียวกันด้วย แต่ในฐานะแอปเปิลมีการเก็บค่าธรรมเนีมจากการขายแอพฯ บน App Store ด้วยจึงจะถูกฟ้องร้องทั้งเรื่องการละเมิดลิขสิทธิ์และเครื่องหมายการค้า
                ด้านกลุ่มสื่อมวลชน ได้มีการนำคอนเท็นต์บนโลกออนไลน์มาประกอบในการนำเสนอข่าว โดยแสดงบนเว็บไซต์ของตนทั้งภาพ และคลิปวีดีโอ ซึ่งจุดประสงค์คือการแนะนำ ติชม หรือรายงานข่าวที่น่าสนใจให้ทันต่อเหตุการณ์และอยู่ในความสนใจของผู้ชม จนบางครั้งละเลยต่อการแสดงความรับผิดชอบต่อแหล่งที่มาของคอนเทนต์ ซึ่งเสี่ยงต่อการถูกฟ้องร้องในเรื่องการละเมิดลิขสิทธิ์หรือการละเมิดเครื่องหมายการค้าได้เช่นกัน

สิ่งที่ควรรู้ในการนำคอนเทนต์มาใช้งานบนออนไลน์
                ไพบูลย์อธิบายว่า ในแง่ของกฎหมายลิขสิทธิ์นั้น คอนเทนต์ที่มีการเผยแพร่บนอินเตอร์เน็ตสามารถนำมาใช้ได้อย่างถูกกฎหมายในแง่ของการนำคอนเทนต์ไปใช้ในแบบแฟร์ ยูส เพราะทุกครั้งที่เจ้าของคอนเทนต์ได้มีการอัพโหลดคอนเทนต์บนอินเทอร์เน็ตจะถือเป็นการอนุญาตให้ใช้ลิขสิทธิศ์โดยปริยายแต่ให้เฉพาะดูหรือชมในเว็บฯ ของเจ้าของคอนเทนต์นั้น
                แต่เมื่อใดมีการนำคอนเทนต์ที่อยู่บนหน้าเว็บไซต์ของผู้ผลิตคอนเทนต์ไปทำซ้ำหรือดัดแปลงเพื่อเข้าไปอยู่บนแอพพลิเคชั่นหรีอซอฟต์แวร์บนโมบายล์ต่างๆลักษณะนี้ถือเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์หากไม่ได้แจ้งขออนุญาตจากเจ้าของคอนเทนต์ ซึ่งขณะนี้ในเมืองไทยเริ่มมีการฟ้องร้องคดีลักษณะนี้ค่อนข้างเยอะกับการสร้างแอพพลิเคชั่นขึ้นมาและนำข่าวจากสำนักข่าวต่างๆเข้าไปให้บริการแก่สมาชิกที่ใช้งานแอพฯ ด้วยโดยไม่ได้ขออนุญาตเจ้าของคอนเทนต์
                ไพบูลย์ กล่าวต่อว่า สำหรับนักพัฒนาที่มีการพัฒนาโปรแกรมสำหรับดูทีวีออนไลน์และดูรายการข่าวหรือทีวีย้อนหลังขึ้นนั้นการกระทำรูปแบบนี้ถือเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ เพราะไม่ได้มีการขออนุญาตจากเจ้าของคอนเทนต์ นอกจากนี้ การที่คอนเทนต์ได้มีเครื่องหมายการค้า เช่น โลโก้ ช่องสถานี โลโก้รายการทีวี ติดอยู่กับคอนเทนต์ที่มาปรากฏในโปรแกรมบริการดูทีวีออนไลน์หรือละครย้อนหลังถือว่าเป็นการละเมิดเครื่องหมายการค้าด้วย
                ดังนั้น หากมีการแจ้งดำเนินคดีนักพัฒนาจะถูก 2 ข้อหาคือ การละเมิดลิขสิทธิ์ และการละเมิดเครื่องหมายการค้า ซึ่งคดีของการละเมิดลิขสิทธิ์นั้นกฎหมายอาญาที่สามารถยอมความกันได้ แต่การถูกแจ้งความเรื่องการละเมิดเครื่องหมายการค้านั้นเป็นคดีความที่ยอมความไม่ได้ถือเป็นความผิดต่อรัฐ
                สำหรับการโพสคลิปวิดีโอหรือคอนเทนต์ต่างๆบนเว็บไซต์นั้น หากเป็นบุคคลทั่วไป สามารถนำคอนเทนต์มาโพสเพื่อแชร์ให้กับเพื่อนๆในโลกออนไลน์เข้ามาดูและชมได้ โดยไม่ต้องขออนุญาตจากเจ้าของคอนเทนต์ เพราะในแง่ของกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญานั้นถือว่าเป็นการเผยแพร่คอนเทนต์ในแบบแฟร์ ยูส แต่ถ้าเมื่อใดนำมาใช้เป็นเครื่องมือทางการตลาดหรือรายงานข่าวในฐานะสื่อมวลชน ผู้ที่กระทำอาจถูกดำเนินคดีในแง่ของการละเมิดลิขสิทธิ์และการละเมิดเครื่องหมายการค้าด้วย หากบนหน้าเว็บไซต์ที่นำมาเผปยแพร่มีแบนเนอร์โฆษณาประกอบ จะถือว่าเป็นการแสวงหากำไรโดยมิชอบเกิดขึ้นทันที

ทำอย่างไรไม่โดนข้อหาละเมิด     
            ไพบูลย์ กล่าวว่า สิ่งแรกที่จะต้องปรับ คือ ทัศนคติของคนส่วนใหญ่กับการคิดว่าทุกอย่างบนอินเทอร์เน็ตเป็นของฟรี เพราะถ้ามีการนำคอนเทนต์ไปใช้ในเชิงพาณิชย์เมื่อใดจะต้องมีการขออนุญาตหรือซื้อลิขสิทธิ์คอนเทนต์นั้นกับเจ้าของคอนเทนต์ ซึ่งคอนเทนต์ที่กล่าวถึงจะอยู่ในรูปแบบของข้อความต่างๆ เช่น วรรณกรรม ภาพศิลปะ ดนตรี เป็นต้น
                ในมุมของนักกฎหมายที่จะแนะนำแก่นักพัฒนา เจ้าของเว็บไซต์หรือซอฟต์แวร์ และสื่อมวลชน สำหรับการนำคอนเทนต์มาใช้กับเว็บไซต์หรือแพลตฟอร์มของตนเองโดยไม่เข้าข่ายการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาทั้งในด้านของลิขสิทธิ์และเครื่องหมายการค้าควรมีการแจ้งข้อกำหนดและเงื่อนไข หรือTerms and Conditions ใส่ไว้ในเว็บไซต์ด้วย เพื่อแจ้งเจตนาในการนำเสนอคอนเทนต์ ซึ่งในต่างประเทศจะมีส่วนนี้ปรากฏในทุกเว็บถือเป็นข้อมูลพื้นฐาน และมาตรฐานที่เว็บไซต์ควรมีระบุไว้ โดยเฉพาะข้อความว่า หากพบว่ามีการละเมิดลิขสิทธิ์ หรือผิดกฎต่อกฎหมาย สามารถแจ้งเข้ามาที่เว็บมาสเตอร์หรือหมายเลขโทรศัพท์ตามที่แจ้งไว้ขบเว็บไซต์ และจำดำเนินการลบคอนเทนต์ภายในกี่วัน
                สำหรับการเขียน
Terms and Conditions ไว้บนเว็บไซต์นั้น ในอเมริกาเรียกนโยบายนี้ว่า Take Down Notice ซึ่งจะอยู่ในกฎหมายลิขสิทธิ์ของอเมริกา DMCA ที่เขียนไว้ว่า ถ้ากรณีคนที่นำคอนเทนต์เผยแพร่ในเว็บไซต์ โดยภายในเว็บไซต์มีรายละเอียดข้อกำหนดเงื่อนไขเรื่องมาตรการการป้องกันลิขสิทธิ์ตามข้อกำหนดที่แจ้งไว้ให้ถือสิทธิในเจตนาจะไปกระทำการละเมิด
                ปัจจุบันมีการใช้โซเชียลมีเดีย เช่น Facebook หรือ Youtube ในการเผยแพร่คอนเทนต์กันมากขึ้น ทั้งในรูปแบบการโพสและแชร์ต่อเพื่อนๆ ทั้งยังมีการสร้างคอนเทนต์ที่มีการดึงดูดคนให้เข้ามาเป็นแฟนเพจ
                ดังนั้นการใช้สื่อโซเชียลมีเดียในการประชาสัมพันธ์ก็ควรจะมี Terms and Conditions ในการกำกับไว้เหมือนกันว่ามีรายละเอียดอย่างไร อาจจะเป็นรูปแบบว่าก่อนเข้ามาใช้งานแฟนเพจบน Facebook จะต้องทราบเงื่อนไขการใช้งานด้วย
               
Terms and Conditions จะเป็นหลักฐานชิ้นสำคัญทางกฎหมายเพื่อพิสูจน์ว่าตัวจำเลยไคลิปวีดีโอไม่มีปัญหา หรือไม่มีเจตนาในการละเมิดลิขสิทธิ์ แต่ทั้งนี้ เจ้าของเว็บไซต์หรือ แพลตฟอร์มแจ้งกับ Content Provider จะดีที่สุด ปัญหา Content Owner ถ้าอยู่ในกูเกิ้ลหรือยูทูปจะหาเจ้าของตอนเทนต์ที่แท้จริงไม่ได้ วิธีการแก้ไขตรงนี้คือ ควรจะอ้างอิงกับเว็บไซต์ที่หน้าเชี่อถือ
                หากต้องการแชร์คลิปวีดีโอหรือเผยแพร่บนเว็บไซต์ของตนเอง ควรจะใส่ Hyper ต่อท้ายข้อความในการนำเสนอผลงานดีกว่าจะทำการ Embed คลิปวีดีโอนั้นมาอยู่บนหน้าเว็บไซต์ของตนเพื่อจะดึงทราฟฟิคเข้ามาที่เว็บไซต์ ซึ่งเป็นกลยุทธิ์ทางการตลาด
                “บางทีการยืนยันหลักฐานโดยอ้างว่ามาจากเว็บไซต์ที่เป็นผู้ละเมิดสิทธิ์นั้นจะไม่ได้ช่วยเหลือให้เราถูกยกเว้นจากข้อกฎหมายแต่อย่างใด เพราะในทางกฎหมายจะเขียนไว้ว่าสันนิฐานไว้ก่อนว่าจำเลยละเมิดละเว้นแต่พิสูจน์ได้ว่าไม่ทราบว่ามีการกระทำความผิดหรือเป็นงานที่ละเมิดลิขสิทธิ์ตามกฎหมาย”
 
ระวังการกักเก็บข้อมูลที่เกินกำหนดข้อตกลง
            สิ่งที่ควรระวังสำหรับการเผยแพร่คอนเทนต์อีกเรื่องคือ เมื่อทำการขออนุญาตใช้คอนเทนต์แล้ว แต่เมื่อถึงเวลาระบบจัดการเก็บข้อมูลบนเว็บไซต์ได้นำคอนเทนต์นั้นไปอยู่ในส่วนของ Archive ก่อนที่จะถูกลบออก ตามสัญญาที่ให้ไว้กับเจ้าของคอนเทนต์นั้นได้มีการทำลายน้ำบนภาพและข้อมูลถูกอ้างอิงเป็นของเว็บไซต์นั้นโดยอัตโนมัติ เมื่อมีการตรวจสอบพบจะเสี่ยงต่อการละเมิดด้วยเช่นกัน
                ไพบูลย์ แนะนำว่า เมื่อครบ 1 อาทิตย์หรือไม่เกิน 1 เดือน ควรต้องนำข้อความหรือภาพออกจากเว็บไซต์ และต้องไม่ลืมกำชับกับทางทีมงานที่ดูแลคอนเทนต์ เพราะถ้าข้อมูลได้เข้าไปอยู่ในระบบ Archive และเว็บไซต์นั้นมีการคิดค่าบริการในการสืบค้นข้อมูลข่าวย้อนหลังขึ้น จากที่เคยทำถูกกฎหมายกลายเป็นผู้ที่ถูกกล่าวหาว่าละเมิดลิขสิทธิ์ทันที ดังนั้น เรื่องนี้จึงสำคัญมากโดยเฉพาะเว็บไซตืข่าวที่ขายข้อมมูลย้อนหลัง เพราะไม่คุ้มค่ากับการจะต้องจ่ายค่าเสียหายฟ้องร้องและเสียชื่อเสียงด้วย หากตอนนั้นธุรกิจกำลังได้รับความนิยม
                ปัญหาเกี่ยวกับกฎหมายลิขสิทธิ์ไทย
            ถ้าเปรียบเทียบ้กฎหมายทรัพย์สินทางปัญญาของไทยกับต่างประเทศนั้น เนื้อหาของไทยค่อนข้างเป็นพวกอนุรักษ์นิยมที่ให้ความสำคัญกับการคุ้มครองของเจ้าของลิขสิทธิ์ค่อนข้างมากเกินไป แต่ถ้าเทียบกับกฎหมายอเมริกาที่เริ่มเปิดกว้างในการนำคอนเทนต์ในโลกออนไลน์มาใช้ได้อย่างเสรีมากขึ้น โดยอิงกับแนวความคิดของ Creative Commons นั่นคือสนับสนุนการใช้เนื้อหาโดยไม่ถูกจำกัดจากสัญญาอนุญาต  ซึ่งจะเอื้อให้มีการใช้สื่อทั้งทางภาพ เสียง ข้อมูล โดยการแบ่งแยกสัญญาอนุญาตย่อยออกสำหรับการแจกจ่ายและการให้ข้อมูล โดยการอ้างอิงถึงเจ้าของสิทธิ์เดิม
                แนวคิดนี้จะไปแก้กฎหมาลิขสิทธิ์ของอเมริกาในเรื่องการเปิดกว้างกับการนำคอนเทนต์บนโลกออนไลน์ใช้มากขึ้น เนื่องจากมองว่าอินเทอร์เน็ตเป็นแหล่งข้อมูลความรู้ แต่ในเมืองไทยยังไม่ยอมรับแนวคิดนี้ เพราะกฎหมายใหม่ที่อยู่ระหว่างการพิจารณาในสภานั้นจะเน้นเรื่องการละเมิดโดยการใช้เทคโนโลยี ซึ่งจะป็นเชิงของการป้องปรามและปราบปรามมากขึ้นโดยจะให้น้ำหนักไปที่เจ้าของลิขสิทธิ์ ซึ่งจะแตกต่างจากแนวคิดการแก้ไขกฎหมายลิขสิทธิ์ของอเมริกาที่จะทำให้เกิดความเป็นธรรมทั้งเจ้าของคอนเทนต์และผู้เสพคอนเทนต์มากขึ้น ไพบูลย์กล่าว




Cr. หนังสือ e-commerce  July 2013 / No. 175





Yim_Admin

 
Back
   
ข่าวอื่นๆที่น่าสนใจ
  ทำไมต้องจดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
  5 แนวทางสร้างกำไรโดยการลดต้นทุนอย่างยั่งยืน (โดยไม่ต้องลดคุณภาพ)
  4 เหตุผลทำไม Start-Up ถึงต้องทำ PR
  SEO หรือ PCC กลยุทธ์ไหนที่ตอบโจทย์ธุรกิจของคุณ!
  3 พื้นฐานที่คุณต้องรู้ในการทำ DIGITAL MARKETING ANALYTICS