Milton S. Hershey ผู้ก่อตั้งอาณาจักรช็อกโกแลตHershey\'s
Call Us
02 612 9230-32, 080 064 8000
Member Login
Login
Forgot Password?  Register
 
Testimonial
" ออกมาเป็นที่พอใจมากคะได้สเป็คสีที่ระบุไว้เลยคะ แถมเจ้าหน้าที่ก็ใจดีคะ ทำให้ได้หมดทุกอย่างคะ บริการดีมาก กันเอง "
คุณเจ เจ้าของร้านเพชรทองเอราวัณเยาวราช
Milton S. Hershey ผู้ก่อตั้งอาณาจักรช็อกโกแลตHershey\'s
2,312 View | 27 Jun 2013

Milton S. Hershey ผู้ก่อตั้งอาณาจักรช็อกโกแลต Hershey's
 
Milton S. Hershey, 1857–1945. Photo belongs to kingeroos
inShare
Hershey คือนักธุรกิจต้นแบบที่ระดับความสำเร็จไม่ได้วัดกันที่หน่วยเป็นดอลล่าร์ แต่ประเมินได้จากความฉลาด
การเลือกใช้ไหวพริบปฏิภาณอันเป็นเลิศในการก่อสร้างอาณาจักรแห่งช็อกโกแลตจนเป็นตำนานอันโด่งดังมาถึงทุกวันนี้
การดำเนินธุรกิจโรงงานช็อกโกแลตของ Hershey นั้นไม่ได้งดงามเหมือนที่นิยายบางเรื่องเคยกล่าวถึงเอาไว้
แต่เต็มไปด้วยความยากลำบากนานาชนิดที่ถาโถมเข้ามาไม่หยุดหย่อน นักธุรกิจผู้เป็นพ่อมดใจดีแห่งดินแดนช็อกโกแลต
คนนี้ก้าวผ่านอุปสรรคนานับประการมาได้อย่างไร ตลอดเส้นทางเดินจะต้องพบเจอกับอะไรบ้าง
รวมถึงวิธีการดำเนินธุรกิจให้กลายเป็นตำนานที่กลายเป็นต้นแบบให้คนรุ่นหลังดำเนินรอยตามมาจนถึงทุกวันนี้


 
Hershey เกิดมาในช่วงยุคสงครามกลางเมือง ในฟาร์มที่เซนทรัล เพนนซิลวาเนีย เขาเติบโตขึ้นมาด้วยการพูดภาษา
“เพนนซิลวาเนีย ดัทช์” และยังสืบทอดคาแรกเตอร์บางอย่าง เช่น นิสัยการทำงานหนัก ความเฉลียวฉลาด และการรู้จัก
ประหยัดอดออมติดตัวมาด้วย เขาเติบโตมาอย่างได้รับการศึกษาแบบครึ่งๆ กลางๆ เพราะต้องย้ายโรงเรียนบ่อยครั้งตาม
การย้ายถิ่นฐานของครอบครัว และไม่ค่อยได้รับการสนับสนุนจากครอบครัวเท่าที่ควร ดูเหมือนว่าเขาจะไม่มีทักษะพื้นฐาน
สำหรับการเป็นผู้บริหาร แต่ความล้มเหลวจากการทำงานของเขาที่กลายมาเป็นต้นทุนชั้นดีในการปูเส้นทางความสำเร็จให้
เป็นจริงขึ้นมา Hershey เริ่มต้นงานแรกด้วยการเป็นเด็กฝึกงานในหนังสือพิมพ์เยอรมันเล่มหนึ่ง แต่เขาไม่รู้สึกกระตือรือร้น
ที่จะอยากทำงานมากนัก เมื่อนั้นเขาจึงชิงลาออกมาเพื่อเป็นพนักงานฝึกงาน (อีกครั้ง) กับ Joe Royer ผู้ผลิตลูกอมและ
ไอศกรีมในเมืองแลนแคสเตอร์ จุดเริ่มต้นในครั้งนั้น Hershey ได้เรียนรู้วิธีการทำลูกอมขั้นพื้นฐานมาทั้งหมด

แต่ความทะเยอะทะยานของเขาก็ยังไม่สิ้นสุด ในปี 1876 ในงานเฉลิมฉลองครบรอบ 100 ปีการประกาศอิสรภาพ
เขาไปที่นั่นด้วยความหวังว่าจะสามารถสร้างรายได้ให้กับเขาได้บ้าง Hershey สร้างร้านขายลูกกวาดของเขาด้วยตัวเอง
โดยยืมเงินทุนมาจาก Abraham Snavely ผู้เป็นลุงของเขา พร้อมกับลงทุนพิมพ์นามบัตรอย่างประณีต
เพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์ร้านของเขาเอง เขาพาทั้งแม่และป้ามาช่วยงานเขา ซึ่งถือเป็นการทำงานอย่างหนักใน
การออกร้านครั้งนั้น แต่ปรากฏว่าเขากลับทำรายได้ไม่มากพอที่จะจ่ายให้กับซัพพลายเออร์และผู้คนที่เขาเป็นหนี้อยู่

Hershey ตัดสินใจกลับมาเดนเวอร์ด้วยเหตุผลสำคัญ 3 ประการ: ความรู้, โอกาสในการเรียนรู้
จากช่างผลิตลูกอมในเดนเวอร์ และนมสด
อย่างไรก็ตาม ความทะเยอทะยานของเขาก็ยังคงอยู่ แม้ Hershey จะล้มเหลวในฟิลาเดเฟีย แต่เขาก็ยังนำพาโชคชะตาส่วนตัว
ไปแสวงโชคต่อในอีกหลายเมือง ทั้งเดนเวอร์, นิวยอร์ก, ชิคาโก้ และนิว ออร์ลีนส์ แต่ล้วนไม่มีเมืองไหนเลยที่ทำให้เขาประสบความสำเร็จ
อย่างเป็นรูปเป็นร่าง Hershey ตัดสินใจกลับมาเดนเวอร์ด้วยเหตุผลสำคัญ 3 ประการ: ความรู้, โอกาสในการเรียนรู้จากช่างผลิตลูกอมในเดนเวอร์
และนมสด
  ปี 1886 Hershey หมดเนื้อหมดตัว เขาตัดสินใจกลับไปแลนแคสเตอร์ แต่กลับไม่มีเงินพอจ่ายค่าขนส่งสิ่งของเครื่องใช้ของเขาเองไปด้วย

แต่โชคชะตาก็ไม่ใจร้ายเกินไปนัก เมื่อภาระดังกล่าวนี้ถูกจัดการด้วย William Henry Lebkicker ผู้เคยทำงานกับ Hershey ในฟิลาเดฟีย
เป็นผู้รับผิดชอบจ่ายค่าขนส่งให้เขาทั้งหมด หลังจากนั้นทั้งแม่และป้าของเขา ก็กลายมาเป็นผู้ช่วยมือหนึ่งในการคิดค้นสูตรลูกอมคาราเมลรสนม
“Hershey’s Crystal A” ที่มาพร้อมกับประโยคเด็ดที่ว่า “melt in your mouth” (ละลายในปาก)

ด้วยออเดอร์จำนวนมากจากประเทศอังกฤษที่สั่งมายังบริษัทของ Hershey (The Lancaster Caramel Company)
ทำให้เขาตัดสินใจกู้เงินจากธนาคารมาเพื่อสนับสนุนการผลิตให้ทันออร์เดอร์ดังกล่าวนี้
เจ้าของออร์เดอร์ชาวอังกฤษจ่ายค่าลูกอมของเขาในครั้งนั้นเป็นเงิน 500 ปอนด์ ทำให้เขาตื่นเต้นมากจนถึงขั้นขับรถไปขึ้นเงินด้วยตัวเองใน
ขณะที่ผ้ากันเปื้อนยังผูกติดกับตัวเขาอยู่ นี่เป็นเหตุการณ์เริ่มต้นที่ทำให้เขาประสบความสำเร็จหลังจากนั้นมาอย่างต่อเนื่อง
หลังจากนั้นในปี 1894 เขาถูกจัดให้เป็น 1 ในพลเมืองเมืองแลนแคสเตอร์ที่มั่งคั่งที่สุด


โดยสิ่งที่ Hershey ตัดสินใจทำอย่างสม่ำเสมอเลยก็คือ การออกท่องเที่ยวไปในสถานที่อื่นๆ ทั้งเม็กซิโก ยุโรป อังกฤษ ไปจนถึงอียิปต์
ความอยากรู้อยากเห็นของเขาทำให้เขารู้จักเก็บเกี่ยวนำเอาความคิดใหม่ๆ จากที่ได้พบเจอ ทั้งการชมพิพิธภัณฑ์ ร้านค้า สถานที่ท่องเที่ยวต่างๆ
เขาเดินไปดูทั่วทุกถนน และมองดูการใช้ชีวิตของผู้คนในแต่ละเมืองที่ต่างกันออกไป

 
ถ้าลูกอมคาราเมลให้หนึ่งล้านแรกกับ Hershey แต่ช็อกโกแลตให้ความมั่งคั่งที่แท้จริง ในปี 1893
งานแสดงสินค้า World’s Columbian ในชิคาโก้ คืองานที่ Hershey คิดว่าจะเป็นสถานที่ที่ดึงดูดใจกลุ่มเป้าหมายของเขาได้
ในงานนั้น เขาตัดสินใจนำเครื่องสร้างช็อกโกแลตมาไว้ในงาน ทั้งวัสดุ อุปกรณ์ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการผลิตช็อกโกแลตทั้งหมด
ในครั้งนั้นเขาผลิตช็อกโกแลตที่มีความหลากกหลายได้มากถึง 114 ชนิด
พอใกล้หมดยุด 80s Hershey เริ่มมองเห็นทิศทางทางการตลาดในอนาคต ว่ามีผู้บริโภคสนใจในช็อกโกแลตของเขามากกว่าลูกอมคาราเมล
ในปี 1900 เขาจึงตัดสินใจขายบริษัท The Lancaster Caramel Company ไปในราคา 1 ล้านเหรียญฯ
และเริ่มต้นอุทิศตัวให้กับการสร้างดินแดนแห่งช็อกโกแลตของเขาอย่างเต็มตัว

เขาเริ่มลงมือค้นหาพื้นที่สำหรับสร้างโรงงานช็อกโกแลตที่เหมาะสม สถานการณ์นี้ดึงให้เขากลับไปยัง Derry Township
เขานำเงินไปซื้อที่ดินที่เคยเป็นบ้านเกิดของเขา ซึ่งเขาเชื่อว่าพื้นที่บริเวณ Central Pennsylvania จะสามารถมอบสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ
ให้กับโรงงานของเขาได้อย่างเต็มที่ ทั้งแหล่งน้ำรองรับ นมสดมีคุณภาพ คนงานที่มีทักษะ
ส่วนผสมทั้งหมดนี้รวมตัวกันเป็นโรงงานที่สมบูรณ์ขึ้นใน 1905
“ไม่มีใครบอกกับ Hershey ว่าการทำช็อกโกแลตต้องทำอย่างไร?
เขาค้นพบวิธีจากประสบการณ์ที่ลงมือทำ” พนักงานที่เคยทำงานร่วมกับเขาพูดถึง Hershey ไว้ การมีส่วนร่วมของพนักงานอย่างใกล้ชิดนี่เองที่
กลายเป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญที่ทำให้เขากลายเป็นตัวอย่างต่อพนักงานอีกหลายต่อหลายคน
 
ด้วยการรักษามาตรฐานอย่างเข้มงวด ทำให้เขาขึ้นแท่นเป็นนักธุรกิจที่ยอดเยี่ยม
เขาเป็นผู้ลงมือทำ ไม่ใช่นักปราชญ์


แม้ว่าเขาจะไม่ได้เริ่มต้นด้วยความตั้งใจที่ชัดเจนว่าจะผลิตช็อกโกแลตแท่งหรือลูกอมนานาประเภท
แต่เมื่อในวันที่เขาตัดสินใจอย่างชาญฉลาดเกี่ยวกับความมุ่งมั่นที่เขามีต่อช็อกโกแลตแท่งปะยี่ห้อชื่อของเขาเองแล้ว
เมื่อนั้นไม่ว่าจะเป็นช็อกโกแลตประเภทใดก็ตามที่ผลิตภายใต้ชื่อของเขาแล้ว ล้วนประสบความสำเร็จอย่างเป็นปรากฏการณ์ในระยะเวลาอันสั้น
ด้วยการรักษามาตรฐานอย่างเข้มงวด ทำให้เขาขึ้นแท่นเป็นนักธุรกิจที่ยอดเยี่ยม เขาเป็นผู้ลงมือทำ ไม่ใช่นักปราชญ์
เขาแทบจะไม่พูดถึงความเชื่อที่เขามี สิ่งที่เขาทำคือการคิดให้หนักว่ามีปัจจัยใดบ้างที่จะสนับสนุนความสำเร็จของเขาได้
รวมไปถึงสามารถเพิ่มคุณค่าให้กับเป้าหมายที่เขามีอยู่ Hershey ค่อยๆ เริ่มต้นพัฒนาตนเองทีละน้อย สั่งสมจากประสบการณ์
และสร้างข้อบังคับพื้นฐานที่เขาสามารถปฏิบัติตามได้อย่างสม่ำเสมอในระยะยาว
• • •
Hershey เชื่อว่าความคุ้มค่าอย่างหนึ่งคือการนำผลประโยชน์ที่ได้รับมาสร้างประโยชน์ต่อสู่คนอื่นๆ
เขาเข้าใจว่าการทำงานที่ดีคือธุรกิจที่ดี และมุ่งความตั้งใจของเขาไปยังการทำงานเพื่อสังคมโดยเฉพาะ
โดยใช้ทรัพย์สินที่เขามีสร้างโครงการเพื่อสังคม ได้แก่ Industrial School ภายใต้ชื่อของเขา
โดยปราศจากคำถามถึงความจริงใจของเขาจากสังคมเลยแม้แต่น้อย
Photo belongs to kingeroos, theimpulsivebuy, Mike Barry
ที่มา : http://incquity.com/articles/story-hersheys-chocolate
ทีมงาน mwe: Admin_Por ^___^

Back
   
ข่าวอื่นๆที่น่าสนใจ
  ทำไมต้องจดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
  5 แนวทางสร้างกำไรโดยการลดต้นทุนอย่างยั่งยืน (โดยไม่ต้องลดคุณภาพ)
  4 เหตุผลทำไม Start-Up ถึงต้องทำ PR
  SEO หรือ PCC กลยุทธ์ไหนที่ตอบโจทย์ธุรกิจของคุณ!
  3 พื้นฐานที่คุณต้องรู้ในการทำ DIGITAL MARKETING ANALYTICS