mix and match
Call Us
02 612 9230-32, 080 064 8000
Home
Features
Template
Portfolio
Pricing
Package Pricing
Design Package
Contact Us
Member Login
Thai Language
United States Language
Login
Forgot Password?
Register
•
About
•
News Updates
•
Article
•
Template
•
Testimonial
•
Service
•
MA Service
•
Reseller
•
Get Discount
•
Logo Design
•
Form
•
Bank Account
•
Online Payment
Testimonial
" ออกมาเป็นที่พอใจมากคะได้สเป็คสีที่ระบุไว้เลยคะ แถมเจ้าหน้าที่ก็ใจดีคะ ทำให้ได้หมดทุกอย่างคะ บริการดีมาก กันเอง "
คุณเจ เจ้าของร้านเพชรทองเอราวัณเยาวราช
mix and match
2,302 View | 2 Jun 2013
mix and match
ศิลปะการ
"หยิบโน่นผสมนี่"นั้นเป็นเคล็ดลับความสำเร็จของคนหลากหลายกลุ่ม เช่น สาวๆที่รู้ว่าการ mix and match หรือการจับคู่สไตล์เสื้อผ้าเดิมที่มีอยู่จะทำให้มีเสื้อผ้าชุดใหม่ใส่ได้โดย ไม่เปลืองสตางค์ หรือพ่อค้าแม่ขายที่รู้จักเอาเมนูธรรมดามาดัดแปลง ก็จะสร้างสรรค์เป็นอาหารชนิดใหม่ได้อร่อยเหาะชนิดที่หลายคนคาดไม่ถึง
คนทำเว็บไซต์ก็เช่นกัน หลายเว็บไซต์สามารถดึงแอปพลิเคชันหรือฟีเจอร์จากหลายเว็บไซต์ มารวมกันบนเว็บใหม่ที่มีจุดขายเหนือชั้น กลายเป็นเว็บไซต์ที่มีเนื้อหาแน่นปึ๊กคนติดตามเพียบ แต่คำถามคือคนทำเว็บจะหยิบนั่นผสมโน่นอย่างไรจึงจะเหมาะสม และอะไรคือข้อห้ามที่คนทำเว็บไม่ควรทำอย่างยิ่งเรื่องการดึงฟีเจอร์จาก เว็บไซต์อื่นมาติดในหน้าเว็บตัวเอง ทั้งหมดนี้ผู้มีประสบการณ์ในการ
"mash-up"
เว็บแอปพลิเคชันบนเว็บไซต์ เตรียมคำตอบไว้ให้เรียบร้อยแล้ว...
ในอดีตนั้นการพัฒนาเว็บนั้น เว็บแต่ละเว็บมีเนื้อหาเฉพาะของตนเป็นหลัก ซึ่งแต่ละหน่วยงานเจ้าของเว็บ มักจะต้องทำขึ้นมาเอง ซึ่งอาจจะเป็นข้อความ หรือ รูปภาพ เสียง กระดานสนทนา แสดงผลแบบง่ายๆ จะมีการเชื่อมโยงไปยังเว็บอื่นๆ ก็เป็นเพียงลักษณะของ hyper link หรือ การกดแล้วก็เปลี่ยนไปยังหน้าเว็บอื่นนั้นๆ เท่านั้น พูดง่ายๆ ก็คือ แต่ละเว็บก็แสดงสิ่งที่ตนมี ตามแต่กำลังที่จะจัดทำขึ้นมาได้
ต่อมาเมื่อมีความต้องการที่จะแสดงสื่อที่หลากหลายมากขึ้น เช่น วิดิโอ, แผนที่ รวมถึงต้องการประสิทธิภาพที่ดีขึ้น เช่น วิดิโอ ก็ต้องการจะดูวิดิโอที่คมชัด ที่ราบรื่น ไม่สะดุด หรือ การแสดงผลแผนที่ก็ต้องการที่จะดูได้ครอบคลุม ดูได้หลายระดับ ซูมเข้าซูมออก เลื่อนไหลไปมาให้ได้ง่าย
แต่การที่เว็บใดเว็บหนึ่งจะต้องมาจัดการ เตรียมการ ทางเทคนิคให้รองรับความต้องการเหล่านี้ ก็เริ่มที่จะเป็นเรื่องยาก เช่น ต้องมีซอฟต์แวร์ให้บริการวิดิโอ ต้องมีซอฟต์แวร์ให้บริการแผนที่ ต้องมีข้อมูลที่ดี ต้องมีเครื่องให้บริการเก็บข้อมูลที่มีขนาดใหญ่ ต้องเชื่อมต่อเครือข่ายด้วยความเร็วสูง
ซึ่งสิ่งเหล่านี้ล้วนมี มูลค่าสูง ไม่คุ้มที่จะจัดหามาเพื่อใช้งานกับเว็บอันเดียว (ยกเว้นว่าถ้าเป็นเว็บที่ใหญ่จริงๆ มีคนดูมากมาย ก็อาจจะคุ้มที่จะลงทุน)
ในช่วงถัดมาจึงมีบริการสำหรับจัดการกับสิ่งที่ยากๆ เหล่านี้เกิดขึ้น โดยที่บริการเหล่านี้จะทำตัวเป็นศูนย์กลางของข้อมูลเฉพาะอย่างนั้นๆ และเปิดให้เราดึงส่วนที่เราสนใจออกมาแปะในหน้าเว็บของเราได้ รวมถึงอาจให้เราส่งข้อมูลไปเก็บที่ศูนย์กลางนี้ได้ด้วย เช่นบริการ YouTube (ซึ่งปัจจุบันถูก Google ซื้อกิจการไป) เราสามารถส่งวิดิโอ (อัพโหลด) ขึ้นไปเก็บบน YouTube และดึงส่วนแสดงผลมาแปะในหน้าเว็บของเรา ให้ผู้ใช้ของเรากดดูวิดิโอบนเว็บเราได้ โดยที่ผู้ใช้ก็ยังรู้สึกว่าเป็นเนื้อหาของเว็บเรา ไม่ใช่กดแล้วกระโดดหลุดไปเว็บอื่น
ผู้ให้บริการเหล่านี้จะมักมีความเป็นมืออาชีพในด้านนั้นๆ จริงๆ เช่น มีที่เก็บข้อมูลขนาดใหญ่ ไฟล์วิดิโอใหญ่แค่ไหนก็ไม่กลัว มีซอฟต์แวร์รับชมวิดิโอที่ดี ทำให้เปิดดูแล้วลื่นไหล ต่อเนื่อง ไม่กินแบนด์วิธมาก และระบบของผู้ให้บริการมีการเชื่อมต่อเครือข่ายที่เร็ว ผู้ใช้เปิดแล้วไม่รู้สึกช้า เรียกได้ว่า หลายๆ อย่างดีกว่าเจ้าของเว็บรายย่อยจะสามารถทำเองได้
การสร้างเว็บโดยการเชื่อมโยงข้อมูลจากบริการในลักษณะนี้ เราเรียกว่า
Mash-up Application
หรือก็คือ การเอาเนื้อหา/บริการจากเว็บอื่นๆ มายำรวมใส่ในของเราแบบผสมกลมเกลียว ผู้ใช้ไม่รู้สึกแปลกแยก โดยปัจจุบันมีผู้ให้บริการในลักษณะ mash-up นี้จำนวนมากมาย
นอกเหนือจากวิดิโอ อีกตัวอย่างหนึ่งคือ เรื่องแผนที่ ในกรณีที่เว็บของเราจะแสดงผลแผนที่ ยุคนี้ถ้าจะแสดงแผนที่ทั้งที่จะมานั่งวาดเอง ซึ่งบางทีก็ไม่ได้สัดส่วน ไม่ตรงกับความจริง และผู้ใช้บางครั้งไม่ชอบแค่ภาพนิ่งๆ อยากจะเลื่อนแผนที่ไปมา เพื่อที่จะดูบริเวณรอบๆ ซึ่งในส่วนนี้ก็มีบริการหลายเจ้า เช่น Google Maps, Bing Maps รวมถึง Longdo Map ของคนไทยเรา ซึ่งเราสามารถดึงแผนที่มาแปะในเว็บของเราได้ รวมถึงไปปักหมุดใส่ข้อมูลหน่วยงานของเราให้กับเว็บเหล่านี้เพื่อให้แผนที่มี ความถูกต้องมากขึ้นได้ด้วย
นอกเหนือจากนี้ยังมีบริการ Mash-up ในแบบอื่นๆ อีกมากมาย เช่น บริการ SlideShare ไว้แลกเปลี่ยนไฟล์ Presentation หรือแม้กระทั่ง ปุ่ม LIKE และ ช่องให้ใส่ความคิดเห็น ของ facebook และปุ่ม +1 ของ Google Plus ก็นับเป็นการเชื่อมเอาบริการของเว็บเหล่านั้นมาใส่ในเว็บเรา
บริการ Mash-up เหล่านี้ บางบริการก็ฟรี บ้างก็มีค่าใช้บริการ หรือ บางทีอาจจะฟรี ถ้ายังใช้งานในปริมาณไม่มาก แต่ถ้าเกินที่กำหนดจะมีค่าบริการ หรือ ฟรี ไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ เลย แต่อาจมีโฆษณาแฝงมากับบริการ ซึ่งเราก็ต้องศึกษาและดูรายละเอียดการใช้งานของแต่ละผู้ให้บริการ และ เลือกใช้บริการที่เหมาะสมกับการใช้งานของเรา
เพื่อให้เห็นภาพ ขอยกตัวอย่างที่ทันต่อสถานการณ์ คือ เว็บ
Longdo Flood (http://flood.longdo.com)
ซึ่งเป็น mash-up web อย่างเต็มรูปแบบ พูดง่ายๆ คือ ตัวเว็บเองแทบไม่มีข้อมูลของตัวเอง แต่เป็นการผสมผสานเนื้อหาจากแหล่งต่างๆ ประกอบรวมกันให้ผู้ใช้เสพชมในรูปแบบที่เจาะกลุ่มเป้าหมายผู้ใช้ที่ต้องการดู ข้อมูลสถานการณ์น้ำท่วมล่าสุดจาก twitter ที่ใช้ tag #thaiflood พร้อมตำแหน่งและข้อมูลอื่นๆ บนแผนที่
เนื้อหาต่างๆ ที่ Longdo Flood นำมาผสมผสาน ประกอบด้วย
• แผนที่ประเทศไทยจาก Longdo Map เรียกใช้งานผ่าน JavaScript API
• แผนที่บริเวณน้ำท่วมจาก สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) หรือ GISTDA เชื่อมโยงผ่าน WMS protocol
• ข้อความ tweets จากผู้ใช้โปรแกรม Twitter ที่ใช้ tag #thaiflood โดยใช้ Twitter widgets
• แผนที่เส้นสีแสดงสภาพจราจร, เหตุการณ์ล่าสุด และ ภาพกล้องวงจรปิด จาก Longdo Traffic (ซึ่งเชื่อมโยงข้อมูลจากมูลนิธิศูนย์ข้อมูลจราจรอัจฉริยะ หรือ iTic ซึ่งเชื่อมโยงจากหน่วยงานหลายๆ หน่วยงาน เช่น กทม., บก.จร., NECTEC / Traffy และ อื่นๆ มาอีกทอดหนึ่ง) เชื่อมโยงผ่าน Longdo Map JavaScript API
• แผนที่คันกั้นน้ำ และ ระดับความสูง จาก กรมแผนที่ทหาร
เว็บ Longdo Flood ได้เปิดให้บริการในช่วงกลางเดือนตุลาคม 2554 และมีผู้เข้าชมในช่วงปลายเดือน วันละประมาณ 10,000 ครั้ง Longdo Flood เป็นหนึ่งในตัวอย่างที่ดีสำหรับแสดงให้เห็นถึงการทำ mash-up web application ซึ่งเราสามารถเชื่อมข้อมูลจากแหล่งต่างๆ มา แล้วนำเสนอในรูปแบบต่างๆได้ไม่ยาก
บทสรุปจากการทำ mash-up บน Longdo Flood ผมพบความจริงอยู่ 3 ข้อ ดังนี้ครับ
1. อย่าลืมว่าเราสามารถเปลี่ยนวิธีการผสมผสาน ปรับลูกเล่นอะไรได้อีกตามแต่จะจินตนาการ แต่ต้องถึงประโยชน์และความง่ายในการใช้งานด้วย ข้อมูลต้องให้อยู่ในปริมาณที่เหมาะสม ไม่เยอะจนตาลาย หรือ ต้องใช้เวลาหรือพลังของเครื่องสูงเกินไปในการเปิดดู ทำให้เว็บไม่น่าใช้
2. ถึงแม้ว่าจะมีบริการดีๆ ให้เรานำมา mash-up ในเว็บของเราได้มากมาย แต่ การเอาเนื้อหาของคนอื่นๆ มายำรวมๆ กัน โดยที่ไม่ได้มีจุดเด่น หรือ มูลค่าเพิ่มใดๆ ของตนเอง อาจจะทำให้มีคนเข้ามาดูแค่ชั่ววูบแล้วก็ดับไป เราจึงต้องเลือกใช้บริการ mash-up ในสัดส่วนและปริมาณที่เหมาะสม และมีการผสมผสานที่ดี
3. ที่สำคัญ การที่เว็บของเราจะประสบความสำเร็จ เป็นที่ชื่นชอบของผู้ใช้ได้นั้น เว็บเราต้องมีจุดขาย อาจจะเป็นเนื้อหาเฉพาะของตนเอง หรือวิธีผสมผสานที่โดนใจผู้ใช้ กล่าวคือ มีเหตุผลที่เด่นชัดจะทำให้คนเข้ามาดูและกลับมาดูเรื่อยๆ นั่นเอง
ขอให้ท่านผู้อ่านทุกท่านเลือกใช้บริการ mash-up ได้อย่างเหมาะสม และ มีการผสมผสานที่ดี จะให้เว็บไซต์ของท่านสมบูรณ์ยิ่งขึ้นครับ
โดย ภัทระ เกียรติเสวี (www.longdo.com) @callmeott
ที่มา http://www.manager.co.th/Cyberbiz/ViewNews.aspx?NewsID=9540000144210
YIM_Admin
Back
ข่าวอื่นๆที่น่าสนใจ
•
ทำไมต้องจดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
•
5 แนวทางสร้างกำไรโดยการลดต้นทุนอย่างยั่งยืน (โดยไม่ต้องลดคุณภาพ)
•
4 เหตุผลทำไม Start-Up ถึงต้องทำ PR
•
SEO หรือ PCC กลยุทธ์ไหนที่ตอบโจทย์ธุรกิจของคุณ!
•
3 พื้นฐานที่คุณต้องรู้ในการทำ DIGITAL MARKETING ANALYTICS