เข้าสู่ช่วงปลายปีอีกแล้วผู้อ่านหลายท่านอาจจะรู้สึกเหมือนผมก็เป็นได้ครับ อาการที่ว่า ทำไมหลายอย่างในโลกออนไลน์มันจะดูเงียบเชียบไปในช่วงแรกเริ่มของไตรมาสสุดท้าย อย่างที่เห็นได้ชัดเลยคือเรื่องของ Traffic หรือจำนวนการเข้าชมจากผู้ชมทั่วไป ที่จะต้องวิ่งเข้ามายังเว็บไซต์ของเรานั้น มันเงียบไป มันหายไป และลดลงตลอดในช่วงนี้ แน่นอนว่าการที่ Traffic หรือการเข้าชมลดลงนั้น มันคือสัญญาณเตือนหลายอย่างเกี่ยวกับหน้าเว็บไซต์ของเราที่เป็นทั้ง เว็บไซต์ที่ให้ข้อมูล ความรู้ และ เว็บไซต์เชิงการค้าอย่างพวกE-Commerce ที่หลายองค์กรที่อยู่ในสถานะ SMEs กำลังสร้างกันนั้นเป็นอันต้องปวดหัว เพราะถ้ามียอดการเข้าชมน้อยลง ยอดการขายสินค้าผ่านระบบ E-Commerce ก็มีอันต้องลดลงไปด้วยตามกันไป และพอจะมาสืบค้นหาเป้าหมายก็จะพบกับปัจจัยมากมายหลายแหล่ อย่างเนื้อหาบนเว็บไซต์ที่ลดลง หรือนิ่งไปนานก็เป็นอันทำให้ผู้เข้าชมเบื่อหน่าย ตีหายจากไปเป็นต้นครับ หรือบางเว็บไซต์บอกว่า "ไม่มีทาง" กระบวนการของเว็บไซต์ที่สร้างนั้นมีการทำ SEO หรือ Search Engine Optimization มาโดยตลอด อีกทั้งการฝากลิงค์ ให้วิ่งกลับมายังเว็บไซต์ก็มีมากมาย ออกมาเป็นรายงานให้ตามตรวจกัน เนื้อหาเว็บไซต์ไม่มีทางลดลงอีกด้วยเพราะต้องสร้างจุดขายตลอดเวลา และสรรหาโปรโมชันต์ มาล่อใจผู้บริโภค อันที่จริงแล้วช่วงนี้การที่หลายเว็บไซต์มี Traffic ที่ลดลงนั้น ผมอาจจะบอกใบ้ได้เล็กน้อยแต่ก็ไม่ใช่ 100% ให้พอได้ว่า มันมีส่วนเกี่ยวข้องกับกระบวนการตรวจจับเนื้อหาของเครื่องมือค้นหาอย่าง Google อยู่ด้วยครับ
ทั้งหมดนี้มันขึ้นอยู่กับ Algorithm หรือลำดับขั้นตอนการค้นหาของ Google ครับ สำหรับคนที่งงว่า Algorithm นั้นคืออะไรล่ะก็ผมจะอธิบายคร่าวๆ ดังนี้ครับAlgorithm ( อัลกอริธึม ) คือ กระบวนการ ลำดับขั้นตอนการทำงาน ประมวลผลที่จำเป็นต้องใช้การตัดสินใจ โดยนำหลักเหตุผลตรรกศาตร์ และทางคณิตศาสตร์ มาช่วยเหลือในการเลือกหาวิธีการ หรือขั้นตอนการดำเนินงานที่รวดเร็ว และเป็นระบบที่สุด อีกทั้งต้องเป็นลำดับขั้นตอนที่แยกย่อยออกมาง่ายที่สุด โดยการปรับแต่ง Algorithm ของ Google นั้นมีจุดประสงค์เพียงอย่างเดี่ยวคือเพิ่มประสิทธิภาพในการค้นหาข้อมูลครับ
การปรับกระบวนการคำนวณลำดับขั้นตอนใหม่ที่เรียกว่า Google Penguin
ลำดับขั้นตอนหรือ Algorithm ของเครื่องมือค้นหา อย่าง Google นั้นมีการเปลี่ยนแปลงมาตลอด โดยสิ่งที่จะนำมาเป็นหลักในการนำเว็บไซต์ไปวางไว้บน Index หรือดัชนีของ Google นั้นคือคะแนนที่มาวัดผลมาจากปัจจัยบนหน้าเว็บไซต์ หรือที่เรียกว่า On-Page Optimization และปัจจัยภายนอกในการสร้างเส้นทางมายังเว็บไซต์ อย่างเช่น Back links เป็นต้น ซึ่งจะถูกเรียกว่า Off-Page Optimization ตามกันไป ซึ่งช่วงหลักวิศวกรที่ออกแบบ Algorithm ของ Google ที่ชื่อว่า Matt Cutts นั้นได้ออกมาสร้างความฮือฮาเปลี่ยนธุรกิจการค้นหาให้เป็นเกมของเขาไปในที่สุดโดยการเปลี่ยน Algorithm ของ Google ในชื่อใหม่ที่เรียกว่า Penguin ทำให้คะแนนของเครื่องมือค้นหาหลายอย่างที่ได้ผลในอดีตให้กลายเป็นอะไรที่ไม่จำเป็นไป แล้วมาเปลี่ยนบางอย่างที่ไม่ควรจะได้ผล หรือไม่สมเหตุสมผลให้กลายเป็นสิ่งที่สำคัญไปจนได้ ซึ่งผมก็คิดว่าผู้เล่นหรือ (Player) อย่างพวกเราเมื่อลงเรือมาเดินทางบนเส้นทางของ Matt Cutts แล้วก็ต้องเตรียมตัวเปลี่ยน และตื่นตัวตลอดเวลากับความอาร์ตสุดโต่งของวิศวกรคนนี้ก็เป็นได้
ก่อนจะมี Penguin นั้น Google เคยมี Panda
หากให้เกริ่นว่าการค้นหาของ Google นั้นเคยมีการปรับเปลี่ยนAlgorithm มาแล้วกี่ครั้ง ทาง Google เองมีแผนในการเปลี่ยนแปลงลำดับขั้นตอนของตัวเองบ่อยครั้งมากครับ อย่างน้อยๆ ก็ 500-600 ครั้งต่อเดือน เพื่อให้เกิดการค้นหา ที่ดีที่สุด และมีเนื้อหาของหน้าเว็บไซต์ตรงตามความต้องการของผู้ค้นหาที่ใช้ "คำสำคัญ" หรือ "Keyword” ที่ต้องการครับ ซึ่งล่าสุดก่อนที่จะมีการเปลี่ยนแปลง Algorithm ของ Penguin นี้ทาง Google มี Algorithm ที่ชื่อว่าPanda ออกมาก่อนหน้า และตัว Panda นี่เองที่เป็นการเปลี่ยนแปลงวงการธุรกิจ Search Engine Marketing ให้มีความสำคัญในโลกออนไลน์มากขึ้น
Matt Cutts วิศวกรรที่ออกแบบ อัลกอริธึมของ กูเกิล และ ตัวอย่างการออกแบบ Link Wheel
|
ซึ่งเจ้า Algorithm Panda ของ Google ได้ถูกพัฒนาออกมาใช้งานเป็นเวลานานตั้งแต่วันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2011 สร้างผลกระทบต่อเว็บไซต์ที่ปรากฏบนหน้าผลลัพธ์ของ Google ไปหลายเว็บไซต์ โดยเฉพาะเว็บไซต์ประเภทที่เข้าข่าย "Content Farm” หรือการสร้างเนื้อหาที่เข้าข่ายซ้ำซ้อน คัดลอกมาจากเว็บไซต์ที่เป็นแหล่งต้นฉบับ ที่ได้รับการติดอันดับผ่าน Index ของทาง Google มาก่อนแล้วทำให้เว็บไซต์ที่ นำเอาเนื้อหาที่คัดลอกมาจากเว็บไซต์อื่นนั้นได้คะแนนของ Content และ Page Rank ที่เป็นตัวกำหนดความน่าเชื่อถือของ Google ลดน้อยลง กลุ่มที่มีผลกระทบจากการเปลี่ยน Algorithm ของ Google มาเป็น Panda นั้น คือกลุ่มเว็บไซต์ประเภท กระดานสนทนา หรือ Forum นั่นเองครับ เพราะว่ากระดานสนทนาเหล่านี้เดิมที เคยเป็นแหล่งที่สร้าง Traffic เข้าไปยังเว็บไซต์ ผ่าน เนื้อหาในกระทู้ หรือกระดานสนทนา ที่สามารถเข้ามาปั่นข้อความ หรือบทความซ้ำไปซ้ำมา ไม่ก็ไปคัดลอกเนื้อหาจากเว็บไซต์อื่นใส่เข้าไป เพื่อให้คนที่อยู่ในกระดานสนทนานนั้นเข้ามาอ่าน บทความดังกล่าวอีกทั้งยังสามารถล่อลวงให้ตัว Robot ของ Google เข้ามาจดจำ และทำการ Index หน้ากระดานสนทนาเหล่านั้นให้ติดอันดับผลลัพธ์ที่บ่อยกว่าเว็บไซต์อื่นๆ อีกทั้ง ยังมีกลเม็ดในการ ฝังลิงค์เชื่อมโยงไปยังเว็บไซต์อื่นๆ ที่มาจากลายเซ็นต์ของผู้ที่เป็นสมาชิกที่ต้องการได้คะแนน Page Rank ของ Google เพิ่มขึ้นผ่าน Keyword หรือคำสำคัญ ที่บริเวญลายเซ็นต์กลับไป ทั้งยังเป็นการสร้าง ลิงค์กลับยังเว็บไซต์ หรือที่เรียกว่า "Back link” ที่มีจำนวนมากขึ้นอีกด้วย แต่เมื่อ Google ปรับ Algorithm ให้กลายเป็น Panda ข้อความ และลายเซ็นต์ที่โพสท์ซ้ำไปซ้ำมานั้นก็ได้ถูกระบุว่าเป็นการคัดลอกมา และเข้าข่ายการเป็นเว็บไซต์ก่อกวน และสร้างความรำคาญ ที่เรารู้จักดีในคำว่า "Spam Website” นั่นเองครับ
รูปแบบของ Spam Website - ข้อความที่โพสต์ซ้ำไปซ้ำมาถูกระบุว่าไปคัดลอกมา
และเข้าข่ายว่าเป็นเว็บไซต์ก่อกวนและสร้างความน่ารำคาญ
ดังนั้นในช่วงที่ Google ใช้ Algorithm Panda อยู่นั้นหลายเว็บ เริ่มมีการกังวลในการได้รับคะแนนจาก Google จำเป็นต้องใช้การ Re-Write หรือการนำ Content ที่มีอยู่เดิมจากเว็บไซต์ต่างๆ นำกลับมาเขียนใหม่ และมีการแก้ไขสำนวนที่ปรากฏ ไม่ให้เป็นการคัดลอก หรือ Copy มาจากเว็บไซต์ต้นฉบับ ทำให้เกิดเป็นธุรกิจ Blog Post และ Blog Post ที่ปรากฏขึ้นมาเริ่มมีการจับมาเชื่อมโยงกัน เกิดเป็นรูปแบบ Link Wheel ใหม่ขึ้นมาครับ ซึ่ง Link Wheel จะประกอบไปด้วย เนื้อหา หรือ Content บน Blog หรือ เว็บไซต์ หลายๆ เว็บที่มีการแทรก ลิงค์ เชื่อมโยงระหว่างกัน และมี ลิงค์ที่เชื่อมโยงหลักไปยังที่หมายเดียวกันคือเว็บไซต์ต้นทางที่เราต้องการได้คะแนนจาก Google นั่นเองครับ หากวิเคราะห์ให้ดีแล้ว Algorithm ของ Google อย่างเจ้า Panda นี้มีหลักเกณฑ์ในการวัดผลและให้คะแนน โดยใช้กระบวนการคำนวณ และวิเคราะห์ทางคณิตศาสตร์ มาช่วยวัดผลคุณภาพของเนื้อหา หรือ Content ของหน้าเว็บไซต์ หากว่ามีการคดลอกมาจากเว็บไซต์อื่น จะถูกนำไปวัดผลกับ ปัจจัย ที่ถูกเก็บเป็นสถิติซึ่งประกอบด้วย อัตราการเข้ามาที่หน้าเว็บไซต์ หรือ Blog แล้วมีการปิดหน้านั้นหรือเปลี่ยน URL หนีไปที่เราเรียกว่า Bounce Rate รวมไปถึงอัตราการใช้เวลาในการเยี่ยมชมเว็บไซต์ หรือเนื้อหาหน้าดังกล่าวลดลง เนื้อหา Title ของเว็บไซต์ และ Tag ของภาษา HTML ในส่วนของ Meta Description Tag นั้นไม่ตรงกับเนื้อหาของหน้าเว็บไซต์ ทุกส่วนที่ว่ามานี้เป็นปัจจัยหลักๆ เพียงส่วนหนึ่งที่ทาง Panda ของ Google นำมาพิจารณาและให้คะแนน เพื่อจะเอาเว็บไซต์ที่คะแนนสูงมา ปรากฏที่หน้าผลลัพธ์นั่นเองครับ
จุดประสงค์ของ Algorithm Panda นั้นผมคิดว่าทาง Google คงต้องการเพียงเพื่อจะปรับให้ข้อมูลที่ผู้ใช้งาน เครื่องมือค้นหา หรือ Search Engine นั้นได้ข้อมูลการค้นหาที่เป็นประโยชน์จริงๆ ต่อผู้ที่ต้องการค้นหา ซึ่งการจัดลำดับให้เนื้อหาที่ครบถ้วน และเป็นเนื้อหาที่เป็นหนึ่งเดียว (Unique) นี่เองที่ทำให้ผู้ค้นหา นั้นได้รับประโยชน์จาก เนื้อหาของเว็บไซต์นี้ได้เต็มประสิทธิภาพ
แต่ยังไงเสีย Algorithm Panda ของ Google ก็ยังคงพลาดท่าในแง่ของการสร้างลิงค์อยู่เพราะนอกจากการฝากลิงค์แบบเดิมที่ไม่มีความหมายมากำหนดแล้ว ผู้ที่ต้องการให้เว็บไซต์ของตนมี Traffic เพิ่มขึ้นเพื่อคะแนนของ Google ที่สูงสำหรับติดหน้าแรก เพื่อเป็นโอกาสในการทำ Search Engine Marketing กับธุรกิจผ่านการค้นหา ก็ยังมีการเปลี่ยนรูปแบบของลิงค์ ให้กลายเป็นรูปแบบที่ Google ให้ความสนใจ อีกทั้งยังมีการวางแผนฝากลิงค์ที่เชื่อมกับ คำสำคัญ หรือ Keyword นั้นไปฝากยังเว็บไซต์ที่มีเนื้อหาที่ใกล้เคียงกับเว็บไซต์ปลายทางที่ปรากฏใน ลิงค์ นั่นเอง ทำให้ธุรกิจที่เกิดขึ้นมาอีกรูปแบบหนึ่งนั้น ก็คือธุรกิจการขาย ลิงค์ และ คำสำคัญ หรือ Keyword นั่นเอง รูปแบบการฝากลิงค์ที่ว่ามาได้สร้างคะแนนของเว็บไซต์ให้แก่เจ้าของเว็บไซต์นั้นๆ ได้สูงหากว่ามันไปฝากไว้ถูกที่ถูกทาง จะเห็นว่า รูปแบบการฝากลิงค์ที่ว่า มักจะปรากฏบนคอมเม็นท์ของเว็บไซต์ประเทศ Blog และกระดานสนทนาที่ไม่ได้มีการวางแผนป้องกันการโพสท์จาก Robot ที่หรือเรารู้จักในนาม Spam Post นั่นแหละครับ มีวิธีการหนึ่งที่ปรากฏในตำราของ SEO (Search Engine Optimization) แบบ Black Hat หรือวิชามารนั้น ให้ลองทำการค้นหาบนช่องค้นหาของ Google ว่า "inurl:.edu guestbook” เท่านี้ก็จะมีหน้ากระดานสมุดต้อนรับ แล้วให้ใช้เครื่องมือช่วยเหลือทางด้าน SEO อย่าง Plug-in ของ Firefox และ Chrome อย่าง SEOQuake ในการหาคะแนน Page Rank ว่าเว็บไซต์ที่เป็น สมุดเยี่ยมชมไหนมีคะแนน Page Rank ที่สูงแล้วล่ะก็ให้ทำการเข้าไปฝากลิงค์กลับมาได้เลย ซึ่งมีคนเข้าไปทำวิธีการนี้เป็นจำนวนมาก และถ้าทำได้ถูกวิธีนั้นจะทำให้ได้รับคะแนน จากเว็บไซต์ดังกล่าว สูงขึ้นตามปัจจัยของจำนวนลิงค์ที่เราไปฝากไว้นั่นเองครับ
ความน่าสะพรึงกลัวของคนทำเว็บกับ Algorithm Penguin
แม้ว่า ชื่อของลำดับขั้นตอนการคำนวนลำดับของ Google อย่าง "Penguin” นั้นจะดูน่ารักน่าชัง แต่อันที่จริงแล้วนี่เป็น Algorithm ที่ไร้ซึ่งความปราณีจากผู้พัฒนาที่ถูกพัฒนาออกมาเพื่อจัดการเว็บไซต์ที่มีคะแนนเนื้อหาน้อยนิด ซ้ำร้ายยังลดคะแนนจากการฝากลิงค์ และการสร้าง Back Link ลงไปเยอะอีกด้วยครับอันที่จริง Penguin อาจจะเป็น Algorithm ที่ทาง Google นั้นสร้างออกมาเพื่อจัดการกับกลยุทธ์สายมืด หรือวิชามารอย่าง Black Hat SEO นั่นแหละครับ ซึ่งส่วนมาก Black Hat นั้นไม่ได้ทำอะไรที่ผิดอะไรมากมาย เป็นแค่การใช้เล่ห์กลบางอย่างสร้างทางลัดให้ Google ปล่อยคะแนนมายังเว็บไซต์ของเรา แต่เมื่อทาง Matt Cutts เจ้าของ Algorithm ของ Google ได้ประกาศอย่างเป็นทางการแล้วว่า Black Hat หรือเหล่าคนโกงจะต้องออกไปจากเส้นทางสาย Search Engine ตัว Penguin จึงออกมาจัดการเว็บไซต์ และจัดการลดคะแนน Page Rank และค่าอื่นๆ ของเว็บไซต์ที่ได้ใช้ กลวิธีการเหล่านั้นให้น้อยลงไปครับ
|