1. งานวรรณกรรม เช่น หนังสือ จุลสาร สิ่งเขียน สิ่งพิมพ์ คำปราศัย รวมถึงโปรแกรมคอมพิวเตอร์ด้วย 2. งานนาฎกรรม เช่น งานที่เกี่ยวกับการรำ การเต้น การแสดงประกอบเรื่องราว รวมถึงการแสดงโดยวิธีใบ้ 3. งานศิลปกรรม เช่น งานจิตรกรรม งานประติมากรรม ภาพพิมพ์ งานสถาปัตยกรรม ภาพถ่าย ภาพประกอบ หรือสร้างสรรค์รูปทรง สามมิติ เกี่ยวกับภูมิประเทศหรือวิทยาศาสตร์ 4. งานดนตรีกรรม เช่น คำร้อง ทำนอง การเรียบเรียงเสียงประสานรวมถึงโน๊ตเพลงที่ได้แยกและเรียบเรียงเสียงประสานแล้ว 5. งานโสตทัศนวัสดุ เช่น วิดีโอเทป แผ่นเลเซอร์ดิสก์ที่บันทึกข้อมูลซึ่งประกอบด้วยลำดับของภาพและเสียงอันสามารถที่นำมาเล่นซ้ำได้อีก 6. งานภาพยนต์ เช่น ภาพยนต์ รวมทั้งเสียงประกอบของภาพยนต์นั้นด้วย(ถ้ามี) 7. งานสิ่งบันทึกเสียง เช่น เทปเพลง แผ่นคอมแพ็คดิสก์ที่บันทึกข้อมูลเสียง ทั้งนี้ไม่รวมถึงเสียงประกอบภาพยนต์ หรือเสียงประกอบโสตทัศนวัสดุ 8. งานแพร่เสียงแพร่ภาพ เช่น การกระจายเสียงทางวิทยุ หรือการแพร่เสียงหรือภาพทางสถานีโทรทัศน์ 9. งานอื่นใดอันเป็นงานในแผนกวรรณคดี แผนกวิทยาศาสตร์ หรือแผนกศิลปะ
1. ข่าวประจำวันและข้อเท็จจริงต่างๆ ที่มีลักษณะเป็นเพียงข่าวสารอันมิใช่งานในแผนกวรรณคดี แผนกวิทยาศาสตร์ หรือแผนกศิลปะ รัฐธรรมนูญ และกฎหมาย 2. ระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ คำสั่ง คำชี้แจง และหนังสือโต้ตอบของกระทรวง ทบวง กรม หรือหน่วยงานอื่นใดของรัฐหรือของท้องถิ่น 3. คำพิพากษา คำสั่ง คำวินิจฉัย และรายงานของทางราชการ 4. คำแปลและการรวบรวมสิ่งต่างๆ ตามข้อ 3.1-3.4 ซึ่งกระทรวง ทบวง กรม หรือหน่วยงานอื่นใดของรัฐหรือของท้องถิ่นจัดทำขึ้น 5. ความคิด ขั้นตอน กรรมวิธี ระบบ วิธีใช้หรือวิธีทำงาน หลักการ การค้นพบ หรือทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์
1. ผู้สร้างสรรค์งาน โดยความคิดริเริ่มของตนเอง โดยไม่ลอกเลียนงานของบุคคลอื่น และอาจหมายรวมถึงผู้สร้างสรรค์งานร่วมกันด้วย 2. ผู้สร้างสรรค์ในฐานะพนักงานหรือลูกจ้าง 3. ผู้ว่าจ้างในกรณีว่าจ้างให้บุคคลอื่นสร้างสรรค์งาน 4. ผู้ดัดแปลง รวบรวม หรือประกอบกันเข้า โดยได้รับอนุญาตจากเจ้าของสิทธิ์ 5. กระทรวง ทบวง กรม หรือหน่วยงานอื่นใดของรัฐหรือของท้องถิ่น 6. ผู้รับโอนลิขสิทธิ์
1. ทำซ้ำหรือดัดแปลง 2. เผยแพร่ต่อสาธารณชน 3. ให้เช่าต้นฉบับหรือสำเนางานโปรแกรมคอมพิวเตอร์ โสตทัศนวัสดุภาพยนตร์ หรือสิ่งบันทึก 4. ให้ประโยชน์อันเกิดจากลิขสิทธิ์แก่ผู้อื่น 5. อนุญาตให้ผู้อื่นใช้สิทธิ์ตาม 1,2,หรือ3 โดยจะกำหนดเงื่อนไขอย่างใดหรือไม่ก็ได้ที่ไม่เป็นการจำกัดการแข่งขันโดยไม่เป็นธรรม
1. งานทั่วๆไป ลิขสิทธิ์จะมีอยุ่ตลอดอายุสร้างสรรค์ และจะมีต่อไปอีก 50 ปี นับแต่ผู้สร้างสรรค์ถึงแก่ความตาย กรณีที่นิติบุคคลเป็นผู้สร้างสรรค์ลิขสิทธิ์จะมีอายุ 50 ปี นับแต่ได้สร้างสรรค์งานนั้นขึ้น กรณีที่ผู้สร้างสรรค์ใช้นามแฝง หรือไม่ปรากฎชื่อผู้สร้างสรรค์ลิขสิทธิ์มีอายุ 50 ปี นับแต่ได้สร้างสรรค์งานนั้นขึ้น 2. งานภาพถ่าย โสตทัศนวัสดุ ภาพยนต์ สิ่งบันทึกเสียง หรืองานแพร่ภาพ ลิขสิทธิ์อายุ 50 ปีนับแต่ได้สร้างสรรค์งานนั้นขึ้น 3. งานที่สร้างสรรค์โดยการจ้างหรือตามคำสั่งของกระทรวง ทบวง กรม หรือหน่วยงานอื่นใดของรัฐให้มีอายุ 50 ปี นับแต่ได้สร้างสรรค์งานนั้นขึ้น 4. งานศิลปประยุกต์ ลิขสิทธิ์มีอายุ 25 ปี นับแต่ได้สร้างสรรค์งานนั้นขึ้น
1.เลือกเมนู ปรับแต่งเว็บ เลือกคำสั่ง หน้าหลัก 2.เลื่อนมาด้านล่าง เลือกคำสั่ง ตั้งค่า Footer 3.พิมพ์ © ในตำแหน่งที่ต้องการ 4.ดูการแสดงผลที่หน้าเว็บไซต์