บริหารหมวดหมู่บทความ คือ ส่วนที่สามารถเข้าไปเพิ่ม - แก้ไข หมวดหมู่บทความในเว็บไซต์ได้อย่างไม่จำกัด ในกรณีที่ต้องการจะแยกบทความของเว็บไซต์ไว้เป็นหมวดหมู่ สามารถเข้ามาสร้างหมวดหมู่บทความได้ในส่วนนี้
การใช้งาน ระบบบริหารหมวดหมู่บทความ
1. Log in เข้าสู่ระบบหลังบ้านของเว็บไซต์ของท่าน
2. เลือกไปที่เมนู ระบบเนื้อหา ในหัวข้อ ระบบบทความ เลือกคำสั่ง บริหารหมวดหมู่บทความ
หมายเลข 1 คือ ตำแหน่งบอกเมนูระบบเนื้อหา เมื่อทำการคลิกที่เมนูนี้
ระบบจะทำจากแสดงเมนูย่อยที่เกี่ยวข้องกับระบบเนื้อหาทั้งหมด หมายเลข 2 คือ ตำแหน่งบอกเมนูบริหารหมวดหมู่บทความ เพื่อเข้าไปเพิ่ม/แก้ไข หมวดหมู่เนือหาบทความ
3. การเพิ่ม หมวดหมู่บทความ เลือกที่ เพิ่มเนื้อหา จะนำไปสู่หน้าการสร้างหมวดหมู่บทความใหม่
หมายเลข 1 คือ ตำแหน่งคำสั่ง เพิ่มหมวดหมู่บทความ เมื่อต้องการทำการเพิ่มหมวดหมู่บทความใหม่
หมายเลข 2 คือ ตำแหน่งการแสดงชื่อหัวข้อและลำดับของหัวข้อหมวดหมู่บทความ ที่ทำการเพิ่มเข้าไป
4. ทำการใส่ข้อมูล ชื่อหมวดหมู่บทความ รูปแบบการแสดงผลชื่อหัวข้อ รายละเอียดหมวดหมู่ รวมถึงกำหนดรูปแบบการแสดงผลให้เรียบร้อย โดยมีขั้นตอนดังนี้
4.1 ใส่ชื่อหมวดหมู่บทความ
*** กรณี ที่เป็นเว็บไซต์ที่มีระบบ 2 ภาษา จะต้องใส่ชื่อหัวข้อบทความ และ รายละเอียดเนื้อหา ทั้ง 2 ตำแหน่ง
4.2 กำหนดรูปแบบการแสดงผล หัวข้อหมวดหมู่ โดยกำหนดได้ 2 แบบ คือ ใช้ตัวอักษรเป็นหัวข้อหมวดหมู่ และ ใช้รูปภาพเป็นหัวข้อหมวดหมู่ โดยมีรายละเอียด ดังนี้
- ในกรณีที่เลือกใช้ ตัวอักษรเป็นหัวข้อหมวดหมู่ สามารถเลือกได้ว่าจะ ใช้ หรือ ไม่ใช้ Icon ก็ได้ จากนั้นให้ทำการเลือกสีพื้นหลังของหัวข้อหมวดหมู่ (ดูวิธีการเลือกสี)โดยเลือก ใช้สีตามการตั้งค่าพื้นฐานเว็บไซต์ หรือ เลือกสีใหม่ ตามต้องการ
- กรณีที่ เลือกใช้ Icon ที่มีในระบบ เลือกได้จาก หมวดหมู่ไอคอน จากนั้น กดที่ เรียกดู Icons เลือก Icon ที่ต้องการ กด บันทึก ได้เลยค่ะ
- กรณีที่เลือกใช้ ไอคอนส่วนตัว หรือสร้างขึ้นมาเอง ก็สามารถทำได้ โดยกดที่ ไอคอนส่วนตัว จากนั้น กดที่ เลือกไฟล์ จากนั้นกดที่ อัพโหลด จะปรากฎไอคอนที่เลือกไว้ ทำการเลือกไอคอน และทำการ บันทึก ใช้รูปภาพเป็นหัวข้อหมวดหมู่
- กรณี ใช้รูปภาพเป็นหัวข้อหมวดหมู่ สามารถทำได้โดย เลือกที่ ใช้รูปภาพเป็นหัวข้อหมวดหมู่ จากนั้น เลือกไฟล์
4.3 ใส่รายละเอียด Intro หรือคำอธิบายเนื้อหาของหมวดหมู่เบื้องต้น เช่น บทความทั่วไป ติดตามสาระดีๆ บทความน่ารู้ เรื่องราวน่ารู้มากมาย ได้ที่นี้เท่านั้น เป็นต้น
4.4 รูปแบบการแสดงผล สามารถทำการเลือกจำนวนบทความสาร มาแสดงต่อ 1 หน้าได้ตามต้องการ โดยเลือกได้ว่า จะแสดงหน้าละ 5 ,10 ,15, 20, 24, 25, 30, 32 บทความ และรูปแบบการแสดงผลเป็นแบบไหน ก็สามารถเลือกได้เช่นกันค่ะ
4.5 ทำการบันทึกข้อมูลที่ทำการใส่ไว้ตั้งแต่ต้น โดยกดที่ บันทึก ด้านล่างสุดต่อจาก รูปแบบการแสดงผล
หมายเลข 1 คือ ตำแหน่งชื่อหัวข้อบทความ
หมายเลข 2 คือ ตำแหน่งรูปแบบการแสดงผลของ หัวข้อหมวดหมู่บทความ
หมายเลข 3 คือ Intro หรือ รายละเอียดเบื้องต้นของหมวดหมู่บทความนั้นๆ
หมายเลข 4 คือ รูปแบบการแสดงผล แบ่งเป็น จำนวนเนื้อหาที่ต้องการให้แสดงผล
และรูปแบบการแสดงผลหน้าเว็บไซต์
หมายเลข 5 คือ ปุ่ม บันทึก เพื่อทำการบันทึกค่าทั้งหมดที่ทำการใส่ไว้ในหมวดหมู่บทความ
5. เมื่อทำการบันทึกเรียบร้อย ระบบจะกลับมาที่หน้าต่าง บริหารหมวดหมู่บทความ มีรายละเอียด ดังนี้
หมายเลข 1 คือ คอลัมน์ แสดงจำนวนเนื้อหาในหมวดหมู่นั้นๆ ว่ามีจำนวนกี่เนื้อหา
เมื่อคลิกที่ตัวเลข จะเจอเนื้อหาบทความในหมวดหมู่นั้นๆ ทั้งหมด ซึ่งจะอธิบายรายละเอียดในข้อต่อไป
หมายเลข 2 คือ คอลัมน์ View เมื่อกดที่รูปแว่นขยาย ระบบจะเปิดหน้าต่างการแสดงผลขึ้นมาใหม่
เพื่อแสดงบทความทั้งหมดในหมวดหมู่นั้นๆ
หมายเลข 3 คือ คอลัมน์ แก้ไข เมื่อกดที่รูปดินสอจะสามารถเข้าไปแก้ไขรายละเอียดหมวดหมู่บทความนั้นๆ
โดยหน้าต่างการแก้ไข จะเหมือนกันกับตอนที่ เพิ่มหมวดหมู่บทความ
หมายเลข 4 คือ คอลัมน์ แสดงวันที่สร้างหมวดหมู่บทความ
หมายเลข 5 คือ ตำแหน่งสำหรับทำการ ลบหมวดหมู่บทความ
หากในหมวดหมู่นั้นๆ มีจำนวนบทความอยู่จะไม่สามารถทำการลบได้
6. ตัวอย่างการแสดงผล หลังจากที่กดปุ่ม View ในหัวข้อที่ 5 ระบบจะเปิดหน้าต่างการแสดงผลขึ้นมาใหม่ เพื่อแสดงบทความทั้งหมดในหมวดหมู่นั้นๆ
6.1 กรณีที่เลือกใช้หัวข้อการแสดงผลแบบใช้ตัวอักษรเป็นหัวข้อหมวดหมู่
กรณีที่เลือกใช้หัวข้อการแสดงผลแบบใช้รูปภาพเป็นหัวข้อหมวดหมู่
หมายเลข 1 คือ หัวข้อหมวดหมู่บทความ กรณีที่เลือกให้ใช้รูปภาพแทนชื่อหัวข้อหมวดหมู่
หมายเลข 2 คือ ตำแหน่งเพื่อให้สำหรับ ค้นหา บทความหมวดนั้นๆ กรณีที่เนื้อหาบทความมีเยอะ
หรืออยากค้นหาบทความที่ต้องการ
หมายเลข 3 คือ ตำแหน่งการแสดง Intro หรือ รายละเอียดหมวดหมู่บทความ
หมายเลข 4 คือ เนื้อหาบทความทั้งหมดในหมวดหมู่นั้นๆ โดยรูปแบบการแสดง
ขึ้นอยู่กับตอนที่ตั้งค่าไว้ในแต่ละหมวดหมู่
การแก้ไขหมวดหมู่บทความ
1. เมื่อกดที่รูปดินสอจะสามารถเข้าไปแก้ไขหมวดหมู่ที่เลือกได้ โดยหน้าต่างการแก้ไข จะเหมือนกันกับตอนที่ เพิ่มหมวดหมู่บทความ
การลบหมวดหมู่บทความ
1. การ ลบหมวดหมู่บทความ กดที่ปุ่ม ลบ ของแต่ละหมวดหมู่ได้เลย
หากในหมวดหมู่นั้นๆ มีจำนวนบทความอยู่จะไม่สามารถทำการลบได้
การดูเนื้อหาบทความ ในแต่ละหมวดหมู่บทความ
1. เมื่อทำการกดที่ ตัวเลข แสดงจำนวนเนื้อหา
2. จะเข้าสู่หน้า บริหารบทความ ซึ่งจะแสดงเนื้อหาบทความ ที่มีในหมวดหมู่นั้นๆ โดยสามารถเรียงลำดับบทความได้ด้วยตนเอง
หมายเลข 1 คือ ตำแหน่งคำสั่ง เพิ่มเนื้อหาบทความ เมื่อต้องการทำการเพิ่มบทความใหม่
หมายเลข 2 คือ คอลัมน์ ลำดับ สามารถเปลี่ยนตัวเลขเพื่อเรียงลำดับเนื้อหาในหมวดหมู่บทความนั้นๆ ได้
หมายเลข 3 คือ ปุ่ม เรียงลำดับ เมื่อเปลี่ยนตัวเลขลำดับเนื้อหาเรียบร้อย ให้กดที่ เรียงลำดับ
เพื่อจัดลำดับบทความสารให้เป็นตามที่เลือกไว้
|
|