วันฉัตรมงคล หมายถึง พระราชพิธีฉลองพระเศวตฉัตรสิริราชกกุธภัณฑ์ พระแสงประจำรัชกาล ทำในวันซึ่งตรงกับวันบรมราชาภิเษกเสวยราชสมบัติตามราชประเพณี (ความหมาย ตาม พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๒๕)
พระราชพิธีฉัตรมงคล
พระราชพิธีฉัตรมงคล เริ่มมีขึ้นเป็นครั้งแรกในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ โดยทรงมีพระดำริว่า วันที่พระองค์ได้เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติบรมราชาภิเษกนั้น เป็นมหามงคลสมัยซึ่งประเทศทั้งปวงที่มีพระเจ้าแผ่นดินย่อมนับถือวันนั้นเป็นวันนักขัตฤกษ์มงคลกาล แต่ในกรุงสยามมิได้มีการนักขัตฤกษ์อันใด ครั้งนี้วันบรมราชาภิเษกของพระองค์ตรงกับสมัยที่เจ้าพนักงานได้สมโภชเครื่องราชูปโภคแต่เดิมมา ควรมี่จะมีการสมโภชพระมหาเศวตฉัตรให้เป็นสวัสดิมงคลแก่ราชสมบัติ จึงได้ทรงพระราชดำริจัดการพระราชกุศลพระราชทานชื่อว่า ฉัตรมงคล นี้ขึ้น การพระราชพิธีฉัตรมงคลเมื่อครั้งพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงริเริ่มนั้น มีสวดมนต์เลี้ยงพระ เวียนเทียนสมโภชพระมหาเศวตฉัตร ที่พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท และพระที่นั่งไพศาลทักษิณ
ครั้นสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ การพระราชพิธีฉัตรมงคลได้เพิ่มการพระราชกุศลทักษิณานุประทาน ซึ่งเป็นการบำเพ็ญพระราชกุศลสนองพระมหากรุณาธิคุณสมเด็จพระบูรพมหากษัตริยาธิ ตอน ๑ พระราชพิธีฉัตรมงคลซึ่งเป็นการเฉลิมฉลองที่ได้บรมราชาภิเษกอีกตอน ๑ พระราชพิธีทักษิณานุปทานและพระราชพิธีฉัตรมงคล
ในปัจจุบัน ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดงาน ๓ วัน วันแรกตรงกับวันที่ ๓ พฤษภาคม เป็นงานพระราชกุศลทักษิณานุประทาน ณ พระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย อุทิศถวายแด่พระบรมราชบุรพการี เป็นพิธีสงฆ์ พระสงฆ์สวดพระพุทธมนต์แล้วพระราชาคณะถวายพระธรรมเทศนา พระสงฆ์สดับปกรณ์พระบรมอัฐิสมเด็จพระบรมราชบุรพการี
วันที่ ๔ พฤษภาคม เริ่มพระราชพิธีฉัตรมงคล หัวหน้าพราหมณ์ อ่านประกาศพระราชพิธีฉัตรมงคล พระสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์เย็น วันที่ ๕ พฤษภาคม เป็นวันฉัตรมงคล มีงานเลี้ยงพระและสมโภชเครื่องราชกกุธภัณฑ์ ตอนเที่ยงทหารบก ทหารเรือยิงปืนใหญ่เฉลิมพระเกียรติฝ่ายละ ๒๑ นัด ในวันนี้จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า แก่ผู้ที่ได้รับพระราชทานด้วย
ความเป็นมาพระราชพิธีฉัตรมงคล
ประวัติความเป็นมา พระราชพิธีฉัตรมงคลรัชกาลปัจจุบัน ตรงกับวันที่ ๕ พฤษภาคม ๒๔๙๓ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชฯ ทรงกระทำพระราชพิธีพระบรมราชาภิเษกเสด็จขึ้นครองราชย์เป็นลำดับที่ ๙ แห่งราชวงศ์จักรี จึงถือว่าวันที่ ๕ พฤษภาคม ของทุกปีเป็นวันมงคลสมัย พสกนิกรและรัฐจึงได้ร่วมกันจัดพระราชพิธีขึ้นเรียกว่า รัฐพิธีฉัตรมงคล บ้างก็เรียก พระราชพิธีฉัตรมงคล
ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ มีเพิ่มการพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า อาลักษณ์อ่านคำประกาศ ยิงปืนใหญ่เฉลิมพระเกียรติ ชุมนุมถวายบังคมพระบรมรูปสมเด็จพระบูรพมหากษัตริยาธิราช เวียนเทียนสมโภชเครื่องราชกกุธภัณฑ์
การจัดกิจกรรมทางวัฒนธรรมในวันฉัตรมงคล
พระราชประวัติ
สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ทรงเป็นพระราชธิดาองค์เดียวใน
สมเด็จ พระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรมพระบรมราชชนก (สมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลอดุลยเดชกรมหลวงสงขลานครินทร์) และ
สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ประสูติเมื่อวันอาทิตย์ที่ ๖ พฤษภาคม ๒๔๖๖ ณ กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ มีีพระนามใน สูติบัตรว่า เมย์
ปี พ.ศ ๒๔๖๖ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชทานนามใหม่ว่า หม่อมเจ้ากัลยาณิวัฒนา ปี พ.ศ ๒๔๗๐ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงสถาปนาเป็นพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้ากัลยาณิวัฒนา ปี พ.ศ ๒๔๗๘ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล ทรงเฉลิมพระเกียรติยศเป็นสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา เมื่อทรงเจริญพระชนมายุครบ ๖ รอบ ในปี พ.ศ ๒๕๓๘ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช ได้ทรงพระกรุณาโปรดกล้าโปรดกระหม่อมสถาปนาพระอิสริยศักดิ์ เป็นสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ จ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์
หลังจากที่ประสูติได้ไม่นานนัก สมเด็จพระบรมราชชนกได้ทรงย้ายไปประทับที่เมื่อเซาท์บอลและบอสตัน ในปลายปีที่ประสูติได้เสด็จกลับประเทศไทยพร้อมสมเด็จพระบรมราชชนกและสมเด็จพระบรมราชชนนี เมื่อถึงพระนครสมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวีทรงพระราชทานตำหนักใหญ่ วังสระปทุม ให้เป็นที่ประทับ ในปี พ.ศ. ๒๔๖๘ ได้ตามเสด็จสมเด็จพระบรมราชชนกปละพระชนนีไป ประเทศเยอรมนีและฝรั่งเศส
เมื่อวันที่ ๒ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๗๗ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสละราชสมบัติรัฐบาลในสมัยนั้นเห็นพ้องต้องกันกราบบังคมทูลเชิญพระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าอานันทมหิดลซึ่งมีพระมายุเพียง ๘ พรรษา และทรงอยู่ลำดับที่ ๑ ในการสืบราชสมบัติตามกฏมณเฑียรว่าด้วยการสืบสันตติวงศ์ พ.ศ.๒๔๗๖ สมเด็จพระบรมราชชนนีทรงนำพระโอรสและพระธิดาไปประทับที่บ้านซึ่งพระราชทานนามว่า "วิลลาวัฒนา" เมืองปุยยี ซึ่งระหว่างนั้นสมเด็จพระพี่นางเธอเจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนาทรงเข้าศึกษาระดับมัธยมศึกษา ซึ่งต่อมาใน พ.ศ. ๒๔๘๑ ทรงย้ายไปศึกษาต่อไป เจนีวา ในลักษณะของนักเรียนประจำที่ International School of Geneva ทรงสอบผ่านชั้นสูงสุดได้เป็นที่ ๑ ของโรงเรียน และที่ ๓ ของประเทศ ในปี พ.ศ.๒๔๘๕ ทรงเข้าศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัยโลซานน์ คณะวิทยาศาสตร์สาขาเคมีทรงสำเร็จการศึกษาเมื่อ พ.ศ. ๒๔๙๑ ในระหว่างนั้นทรงเข้าศึกษาหลักสูตรของสังคมศาสตร์ ครุศาสตร์ ในสาขาวิชาการศึกษาวรรณคดีปรัชญาและจิตวิทยา จึงทำให้ทรงมีความสนพระทัยทางด้านนี้
ในวันที่ ๘ มิถุนายน พ.ศ.๒๔๘๙ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอนันทมหิดล จึงอัญเชิญสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอเจ้าฟ้าภูมิพลอดุลยเดชเสวยราชย์ เป็นอันดับที่ ๙ แห่งราชจักรีวงศ์ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอเจ้าฟ้า กัลยาณิวัฒนาเสด็จนิวัติประเทศไทยเมื่อ พ.ศ. ๒๔๙๓ ทรงเข้าสอนประจำในคณะอักษรศาสตร์ และคณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยต่าง ๆ ทั้งยังทรงเป็นองค์บรรยายพิเศษด้วย ได้ทรงจัดตั้งสมาคมครูภาษาฝรั่งเศสแห่งประเทศไทย ทรงได้รับเลือกตั้งเป็นนายกสมารมพระองค์แรก นอกจากนี้ยังทรงสนับสนุนโครงการสอนการอ่านแก่เด็กเล็กและโครงการจัดส่งเยาวชนไทยไปแข่งขันโอลิมปิควิชาการด้วย
ทางด้านการสาธารณสุข ทรงเยี่ยมราษฏรพระราชทานสิ่งของช่วยเหลือสงเคราะห์ผู้ป่วย และผู้ยากไร้ทรงอุปถัมภ์ช่วยเหลืองานของมูลนิธิต่าง ๆ เช่น มูลนิธิไตแห่งประเทศไทย มูลนิธิขา เทียมในพระราชูปถัมภ์ สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี มูลนิธิเด็กโรคหัวใจ ทุนการกุศลสมเด็จย่า เป็นต้น นอกจากนี้ในเวลาว่างจะเสด็จเยือนต่างประเทศ ทอดพระเนตรโบราณสถาน โบราณวัตถุทรงพระนิพนธ์หนังสือถึง ๒๕ เรื่อง เกี่ยวกับพระราชวงศ์ ๑๑ เรื่อง พระนิพนธ์แปล ๓ เรื่อง สารคดีท่องเที่ยว ๑๐ เรื่อง บทความวิชาการ ๑ เรื่อง
ด้วยพระเกียรติคุณของพระองค์ จึงทรงได้รับการสถาปนาเป็นเจ้าต่างกรม มีพระนามตามพระสุพรรณบัฎว่า สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาส ราชนครินทร์ เมื่อ พ.ศ ๒๕๓๘
ที่มา : http://guru.sanook.com/3268/วันฉัตรมงคล-/
ทีมงาน mwe
|