กลยุทธ์การสร้างคอนเทนท์เบื้องต้นบนเว็บไซต์!
Call Us
02 612 9230-32, 080 064 8000
Member Login
Login
Forgot Password?  Register
 
Testimonial
" ออกมาเป็นที่พอใจมากคะได้สเป็คสีที่ระบุไว้เลยคะ แถมเจ้าหน้าที่ก็ใจดีคะ ทำให้ได้หมดทุกอย่างคะ บริการดีมาก กันเอง "
คุณเจ เจ้าของร้านเพชรทองเอราวัณเยาวราช
กลยุทธ์การสร้างคอนเทนท์เบื้องต้นบนเว็บไซต์!
1,986 View | 25 Feb 2014


​​
           คอนเทนท์เป็นอีกส่วนประกอบหนึ่งที่สำคัญในเว็บไซต์ของแบรนด์ต่างๆ เพราะคอนเทนท์เหล่านี้คือสิ่งที่ช่วยเพิ่มความน่าสนใจและดึงดูดผู้คนให้เข้ามาดูรายละเอียดของสินค้าและการบริการในเว็บไซต์มากขึ้น ซึ่งทุกวันนี้การแข่งขันกันเรื่องคอนเทนท์ก็มีปริมาณมากขึ้นเรื่อยๆ ทั้งในด้านคุณภาพของคอนเทนท์และการทำ SEO เพื่อให้ติดอันดับต้นๆ ของการ Search ใน Google เพื่อเพิ่มโอกาสให้บรรดาผู้ที่สนใจได้เข้ามาดูรายละเอียดที่มากขึ้น ทำให้บรรดาธุรกิจต่างๆ ก็ล้วนให้ความสนใจกับกลยุทธ์การสร้าง Content กันเป็นอย่างมาก ทาง incquity จึงอยากจะนำเสนอกลยุทธ์การสร้างคอนเทนท์เบื้องต้นที่ทำได้ง่ายๆ กันดูดังนี้

1. Onsite Content Strategy

           Onsite Content Strategy ก็คือการสร้างคอนเทนท์บนตัวเว็บไซต์ของเราเอง โดยพยายามเริ่มต้นคอนเทนท์ที่ให้ความสำคัญกับสิ่งที่ผู้ใช้จะได้รับมาเป็นอันดับแรก ซึ่งไม่ใช่แค่เพียงความสวยงามของเว็บไซต์ หรือเนื้อหารูปแบบคอนเทนท์ที่น่าสนใจเท่านั้น แต่ยังต้องคำนึงถึงความเรียบง่ายเพียงพอที่จะทำให้ผู้ใช้สามารถค้นหาทุกสิ่งทุกอย่างที่พวกเขาอยากรู้ได้ในเว็บไซต์ของเราด้วยตัวเอง นั่นหมายความว่าอันดับแรกนั้นคอนเทนท์จะต้องสะดุดตา เข้าถึงง่าย และมีรายละเอียดทุกอย่างที่ผู้ใช้ต้องการ

           การสร้างสไตล์ที่แตกต่าง แน่นอนว่าเราจะต้องมีคู่แข่งที่มากมายอย่างเลี่ยงไม่ได้ ดังนั้นทางรอดเดียวที่จะทำให้เว็บไซต์สินค้าของเราหลุดออกจากความจำเจของเว็บไซต์ได้ก็คือการสร้างความแตกต่างที่น่าประทับใจให้กับผู้ใช้อาจจะด้วยรูปแบบการเสนอใหม่ๆ หรือเนื้อหาที่สร้างสรรค์ก็ได้

           ลักษณะคอนเทนท์ – อย่างที่กล่าวไว้ในข้างต้นว่าลักษณะของคอนเทนท์แบบ Onsite นั้นจะต้องสะดุดตาและมีข้อมูลครบถ้วน และนอกจากนี้พยายามสร้างเนื้อหาที่สามารถคงอยู่ได้ในระยะยาวไม่ต้องมีการเปลี่ยนอยู่บ่อยๆ ซึ่งคอนเทนท์ที่ว่านี้จะอยู่ในลักษณะของตัวอักษร ภาพ หรือวิดีโอก็ได้ขึ้นอยู่กับความสร้างสรรค์ในการนำเสนอและประเภทสินค้าของเราเอง

           อย่าขาย – พยายามหลีกเลี่ยงที่จะขายของลงในเนื้อหาคอนเทนท์ที่ดูเป็นการตลาดอย่างจงใจ เพราะจะดูเป็นการยัดเยียดเกินไป แต่ควรใช้วิธีการนำเสนอสินค้าหรือบริการในแบบอ้อมๆ เพื่อจูงใจลูกค้าแทน อย่างเช่น โฆษณาหลายตัวทางโทรทัศน์ที่เราจะเห็นได้ว่าบางชิ้นแทบไม่ได้แสดงตัวสินค้าออกมาเลย แต่ก็ทำโฆษณาที่เชื่อมโยงกับคุณค่าและนโยบายขององค์กรจนคนดูก็นึกถึงแบรนด์ได้เมื่อดูจนจบ

2.Offsite Content Strategy

           Offsite Content Strategy คือการวางคอนเทนท์ไว้บนเว็บไซต์อื่นๆ ที่ไม่ใช่ของเรา ไม่ว่าจะเป็นในรูปแบบของ Ads, Banner หรือรูปแบบอื่นๆ เพื่อเป็นการกระจายโฆษณาให้กับลูกค้าจากเว็บไซต์อื่นๆ ได้มีโอกาสพบเห็นคอนเทนท์ของเราและเพิ่มช่องทางกลับมาทางเว็บไซต์ได้มากขึ้น ตัวอย่างช่องทางของ Offsite Content Strategy ก็ได้แก่เว็บไซต์หรือเว็บบอร์ดที่เป็นแหล่งรวมรีวิวสินค้าต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจของเรา สมมุติว่าเราเป็นธุรกิจที่ขายเครื่องสำอางเราก็อาจใช้เว็บ www.jeban.com/ ที่เป็นแหล่งรวมผู้เขียนและผู้อ่านรีวิวเครื่องสำอาง เพื่อทำการลงคอนเทนท์เกี่ยวกับสินค้าเอาไว้ก็ได้เพื่อเป็นการกระจายคอนเทนท์ไปสู่ผู้อื่นมากขึ้น นอกจากนี้อาจจะเลือกใช้ Blog หรือ Fanpage ที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ของเราให้ช่วยโปรโมทให้ขึ้นอยู่กับการต่อรองแลกเปลี่ยนก็ได้เช่นกัน

           หาเป้าหมายให้เจอ – นี่คือปัจจัยแรกที่ควรคำนึงถึงก่อนที่จะตัดสินใจว่าเราจะนำคอนเทนท์ของเรานั้นไปฝากไว้กับเว็บไหนได้บ้าง เพราะก่อนอื่นเราต้องรู้และเข้าใจก่อนว่ากลุ่มเป้าหมายของเราคือใคร? โดยอาจมีการทำวิจัยแบ่งอายุ เพศ ความสนใจ และหัวข้ออื่นๆ ออกมา เพื่อนำมาวิเคราะห์ว่าลูกค้ากลุ่มเหล่านี้นั้นมักเข้าเว็บไซต์ประเภทไหนอยู่บ่อยๆ ก่อนที่จะเลือกวางคอนเทนท์ไว้ตามเว็บไซต์นั้นๆ

           คัดเลือกคอนเทนท์ให้ดี – ผู้ประกอบการบางรายมักเลือกที่จะเก็บคอนเทนท์ดีๆ เอาไว้บนเว็บตนเองแต่กลับละเลยที่จะคัดเลือกคอนเทนท์ดีๆ เมื่อต้องนำไปวางไว้บนเว็บไซต์ของคนอื่น ก็จะเป็นการเสียโอกาสเมื่อมีผู้เข้ามาพบเห็นแต่กลับไม่สร้างความดึงดูดใจให้เข้าไปค้นหารายละเอียดต่อ ดังนั้นการเลือกคอนเทนท์ที่ดี มีเนื้อหาน่าสนใจ และเป็นที่จดจำของผู้ที่พบเห็นน่าจะเป็นทางเลือกที่ดีกว่าการลงคอนเทนท์ที่ไม่ได้ผ่านการคัดเลือกมาก่อน

           คอยเฝ้าติดตาม – เมื่อได้เว็บไซต์ของกลุ่มเป้าหมายและคอนเทนท์ที่ตรงความต้องการของลูกค้าแล้ว สุดท้ายนั้นก็คือการเฝ้าติดตามปริมาณคนที่สนใจอยู่เสมอโดยอาจดูจากจำนวน Pageview ของเว็บไซต์นั้นๆ หรือนับจากปริมาณของผู้คนที่คลิกเข้า Link กลับมายังเว็บไซต์ของเราว่ามีปริมาณเท่าใด เพื่อนำมาวิเคราะห์และคัดเลือกอีกทีว่าการวางคอนเทนท์ไว้ที่เว็บไหนบ้างจึงจะเกิดมูลค่าที่น่าพอใจกว่ากัน

3.กลยุทธ์การสร้างความสัมพันธ์

           ก่อนอื่นควรหาผู้คนที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับธุรกิจของเราก่อนว่าพวกเขาเป็นใครบ้าง โดยอาจเริ่มจากเว็บไซต์ที่เป็นกลุ่มเป้าหมายของลูกค้าเราทั้งหลาย รวมไปถึงบรรดาธุรกิจในสายเดียวกันแม้ว่าพวกเขาจะเป็นคู่แข่งกับเราก็ตาม เมื่อคัดเลือกออกมาได้แล้ว สิ่งต่อมาที่ควรทำก็คือการเข้าหาผูกมิตรกับพวกเขาให้เป็นเครือข่ายเดียวกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับคู่แข่งนั้นยิ่งถ้ารวมตัวกันได้จนแลกเปลี่ยนการลงคอนเทนท์กันบนเว็บไซท์ของอีกฝ่ายได้แทนที่จะมุ่งเน้นการแข่งขันกันเพียงอย่างเดียวก็จะช่วยเพิ่มช่องทางที่ลูกค้าจะเข้าหาเรา และประหยัดต้นทุนในการไปลงบนเว็บไซต์อื่นๆ ได้ไม่น้อยเลยทีเดียว ทำให้การหาพันธมิตรทางธุรกิจนั้นจึงถือเป็นเรื่องสำคัญที่ควรทำเป็นอย่างยิ่งในการสร้างกลยุทธ์คอนเทนท์เลยก็ว่าได้

• • •    

           ใส่ใจคอนเทนท์บนหน้าเว็บ ใส่ใจคอนเทนท์ที่ไปลงไว้บนเว็บอื่น และมองหาพันธมิตรทางธุรกิจที่ไว้ใจได้ เพียงมี 3 ข้อนี้ก็เพียงพอที่จะสร้างกลยุทธ์คอนเทนท์ให้กับธุรกิจได้ไม่ยากแล้ว 




แหล่งที่มา : incquity.com/articles/howto-create-content-websites
ทีมงาน mwe 
วันที่ : 25/02/2557
Back
   
ข่าวอื่นๆที่น่าสนใจ
  ทำไมต้องจดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
  5 แนวทางสร้างกำไรโดยการลดต้นทุนอย่างยั่งยืน (โดยไม่ต้องลดคุณภาพ)
  4 เหตุผลทำไม Start-Up ถึงต้องทำ PR
  SEO หรือ PCC กลยุทธ์ไหนที่ตอบโจทย์ธุรกิจของคุณ!
  3 พื้นฐานที่คุณต้องรู้ในการทำ DIGITAL MARKETING ANALYTICS